การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการคิดวิจารณญานสำหรับเด็กในสถานสงเคราะห์ตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา

Authors

  • ธานี เอิบอาบ
  • อาชัญญา รัตนอุบล
  • วิศนี ศิลตระกูล

Keywords:

ทักษะทางการคิด, ความคิดและการคิด, ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ, ทฤษฎีสรรคนิยม

Abstract

บทคัดย่อ          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการการเรียนรู้สำหรับเด็กในสถานสงเคราะห์ 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการคิดวิจารณญาณสำหรับเด็กในสถานสงเคราะห์ตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา 3) เพื่อศึกษาผลการทกลองใช้โปรแกรมเสริมสร้างการคิดวิจารณญาณสำหรับเด็กในสถานสงเคราะห์ที่พัฒนาขึ้น และ4) เพื่อศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องในการนำโปรแกรมเสริมสร้างการคิดวิจารณญาณสำหรับเด็กในสถานสงเคราะห์ไปใช้ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กอายุระหว่าง 9-11 ปีในสถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 15 คน และกลุ่มควบคุม 15 คน กลุ่มทดลองได้รับการจัดโปนแกรม กลุ่มควบคุมไม่ได้รีบการจัดโปรแกรม เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการวิจัยนี้ประกอบด้วยโปนแกรมเสริมสร้างการคิดวิจารณญาณสำหรับเด็กใสถานสงเคราะห์ แบบสัมภาษณ์ความต้องการการเรียนรู้ของเด็กในสถานสงเคราะห์ แบบวัดการคิดวิจารณญาณ แบบประเมินพฤติกรรมการคิดวิจารณญาณ และแบบสอบถมความพึงพอใจของเด็กในสถานสงเคราะห์ในกลุ่มทดลอง โดยผลการวิจับพบว่า 1) เด็กในสถานสงเคราะห์มีความต้องการการเรียนรู้ในหัวข้อปัญหาวัตถุนิยม และปัญหาภัยอินเตอร์เน็ต 2) โปรแกรมเสริมสร้างการคิดวิจารณญาณสำหรับเด็กในสถานสงเคราะห์ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ผู้เรียน ลักษณะของโปรแกรม กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และการปะเมนผลโปรแกรม 3) หลังการเข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างการคิดวิจารณญาณสำหรับเด็กในสถานสงเคราะห์ คะแนนการคิดวิจารณญาณหลังการทดลองของกลุ่มทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าคะแนนการคิดวิจารณญาณก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และคะแนนการคิดวิจารณญาณหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าคะแนนการคิดวิจารณญาณหลังการทดลองของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการนำโปรแกรมเสริมสร้างการคิดวิจารณญาณสำหรับเด็กในสถานสงเคราะห์ไปใช้คือการสนับสนุนจากสถานสงเคราะห์ กลุ่มผู้เรียน ผู้สอน การจัดสภาพแวดล้อม วัสดุอุปกรณ์ เนื้อหาและสื่อการเรียนรู้ ABSTRACT          The purposes of this research were: 1) to study learning needs of children in foster home 2) to develop a program to enhance critical thinking ability of children in foster home based on constructionism theory 3) to study results of program experiment 4) to study relevant factors affected on the program. The research methodology was quasi-experimental research. The research samples were 30 children aged from 9-11 years old at Pakkred home for boys in Nomthaburi province. The samples were 30 children aged from 9-11 years old at Pakkred home for boys in Nonthaburi province. The samples were equally divided into 2 group:  experimental group and control group.  The experimental group was participated in the developed program whereas the control group was not. The research instruments used in this research were the developed program, needs interview form, critical thinking ability test, critical thinking evaluation form, and questionnaire of attitude towards program for the experimental group. The results of research were as follows: 1) the learning needs of children in foster home about the content of program were materialism and internet problems 2) a program to enhance critical thinking ability of children in foster home consisted of objective, learners, program type, learning activities, learning media and evaluation 3) after the experiment, the mean score of critical thinking test of the experimental group were higher than that score of the experimental group before the experimental at a.05 level of significance and the mean score of critical thinking test of the experimental group after the experiment were higher than that score of the control group at a .05 level significance and 4) the key factors constructors, learning environment, learning materials, content, and learning media.

Downloads