ผลของการปรึกษากลุ่มตามหลักโยนิโสมนสิการเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคด้วยปัญญาของวัยรุ่น

Authors

  • ทิพย์สุดา โกยวาณิชย์
  • ประชา อินัง
  • ดลดาว ปูรณานนท์

Keywords:

ทักษะทางการคิด, ความคิดและการคิด, การสอนแบบโยนิโสมนสิการ, การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม

Abstract

บทคัดย่อ          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองและระยะเวลาของการทดลองต่อพฤติกรรมการบริโภคด้วยปัญญาของวัยรุ่น และเพื่อเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมการบริโภคด้วยปัญญาของวัยรุ่นที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามหลักโยนิโสมนสิการ และกลุ่มควบคุมในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองและระยะติดตามผล และเพื่อเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมการบริโภคด้วยปัญญาในกลุ่มของวัยรุ่นในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองและระยะติดตามผล  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนสุรศักดิ์วิทยาคม จังหวัดชลบุรี ที่มีคะแนนพฤติกรรมการบริโภคด้วยปัญญาอยู่ในระดับต่ำ จำนวน 16 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่ม (Random Assignment) แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 8 คน เครื่องมือทีใช้ประกอบด้วย แบบวัดพฤติกรรมการบริโภคด้วยปัญญา และโปรแกรมการปรึกษากลุ่มตามหลักโยนิโสมนสิการ การเก็บข้อมูลดำเนินดารตั้งแต่เริ่มวัดผลในรยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่มและทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่แบบ นิวแมน-คูลส์          ผลการวิจัยพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาของการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 วัยรุ่นที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามหลักโยนิโสมนสิการ มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคด้วยปัญญาในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองและสูงกว่าวัยรุ่นกลุ่มควบคุมอย่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ABSTRACT          The purpose of this research were to study the interaction between the experimental methodology and the duration of experiment, to compare the level on right consumption behavior of adolescent in the experimental group and the control group between pretest, the posttest, and the follow – up phases, and to compare the level of right consumption behavior within group in the pretest, posttest, and the follow – up phases. The sample used in this study consisted of sixteen students who had low right consumption behavior in Matthayomsuksa 4-6 at Surasakvittayakom School in the academic year 2011, They were randomly assigned to the experimental group and the control  group; each group consisted of eight students. The data were collected before and after the experiment the follow-up. The instrument were the right consumption behavior scale and Yonisomanasikara group counseling program. The data were analyzed by repeated measure analysis of vatiance: one between-subjects variable and one within-subjects variable and paired-different test by Newman-Keuls procedure.          The results of the study indicated that there was statistically significant interaction at .05 level between the experimental methodology and the duration of the experiment. The adolescent in the experimental group had high right consumption behavior score in the posttest and the follow-up phases than the that of pretest phase. It was also found that after the the experiment, group had higher score than the control group at .05 level.

Downloads