การบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏรูปแบบควรจะเป็นอย่างไร

Authors

  • พิสัณห์ นุ่นเกลี้ยง

Keywords:

มหาวิทยาลัยราชภัฏ, การบริหาร, สถาบันอุดมศึกษา

Abstract

บทคัดย่อ          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) เพื่อศึกษาความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏไปใช้จริง การวิจัยนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างจากมหาวิทยาลัยราชภัฎ จำนวน 40 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏประกอบด้วย อธิการบดี 40 คน รองอธิการบดี 40 คน คณบดี 40 คน ผู้อำนวยการ 40 คน หัวหน้างาน หรือครูอาจารย์ 80 คน รวม 240 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามประเมินค่า 4 ระดับ แบบสัมภาษณ์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS และใช้สถิติในการวิเคราะห์ด้วยการแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วยเบี่ยงเบนมาตรฐาน          ผลการศึกษาวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฎ ประกอบด้วย 10 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านแนวคิด และหลักการบริหารเชิงกลยุทธ์ 2) ด้านการนำมหาวิทยาลัยโดยผู้นำระดับสูง 3) ด้านความรับผิดชอบต้อสังคมในภาพใหญ่ 4)ด้านวางแผนเชิงกลยุทธ์ 5) ด้านการถ่ายทอดกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ 6) ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า 7) ด้านการวัด การวอเคราะห์ และการจัดการความรู้ 8) ด้านมุ่งเน้นบุคลากร 9) ด้านการจัดการกระบวนการ และ 10) ด้านผลลัพธ์ ซึ่งรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฎ ทั้ง 10 ด้าน นั้นมีความเหมาะสม และสามารถนำไปใช้ได้จริงในการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฎ ABSTRACT          This research has purpose to 1) design the strategic management model for Rajabhat University and 2) study the appropriateness and possibility of the use of strategic management model for Rajabhat University in real situation. The sampling group o this research is selected from 40 Rajabhat University which are 40 chancellors, 40 vice chancellors, 40 deans, 40 directors, 80 heads of the office or advisors that are 240 altogether. The research tool is the 4 level evaluation questionnaire and content analysis interview form. The quantitative data is analyzed through SPSS Program and statistic analytical methods which are frequency, percentage, average and standard deviation          The result shows that the strategic management model for Rajabhat University is consisted of 10 factors namely 1) the concept and principle of strategic management; 2) the University administration under the control of CEO; 3) the overall social responsibility; 4) the strategic planning; 5) the transferring of strategy into practice; 6) the customer orientation; 7) the measurement, analysis and knowledge management; 8) human resource management ; 9) the process management and 10) the outcome. Each of the strategic management model for Rajabhat University is considerably appropriate and can be effectively used in real situation for the strategic administration of Rajabhat University.

Downloads