การประกันคุณภาพอีเลิร์นนิง: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ
Keywords:
ประกันคุณภาพ, การศึกษาทางไกล, การเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์Abstract
ปัจจุบันการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิงถูกนำมาทดแทนการเรียนในห้องเรียนแบบปกติเพื่อสนับสนุนและเพิ่มช่องทางการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ไม่จำกัดสถานที่และเวลา (Anywhere Anytime Learning) รวมทั้งเป็นการสนับสนุนระบบการเรียนรู้ที่ เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student-Centered Approach) เป็นการพัฒนารูปแบบการเรียน การสอนของนักเรียนให้เข้ากับยุคศตวรรษที่ 21 ในหลักสูตรการศึกษาทางไกล การจัดการเรียน การสอนแบบอีเลิร์นนิงจำเป็นต้องดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรเช่นเดียวกับหลักสูตรการศึกษาทั่วไป ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นเครื่องมือกำกับคุณภาพ เป็นหลักประกันว่าหลักสูตรการเรียน การสอนแบบอีเลิร์นนิงมีคุณภาพและมาตรฐานเช่นเดียวกับการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ ในห้องเรียน การประกันคุณภาพหลักสูตรที่ จัดการศึกษาทางไกลทุกหลักสูตรจะต้องกำหนดและพัฒนาระบบประกันคุณภาพของหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการจัดการศึกษาทางไกล ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยประเด็นหลัก 4 ประเด็น คือ 1) การบริหารหลักสูตร 2) ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอนและการวิจัย 3) การสนับสนุนและการให้คำแนะนำ นักศึกษา 4) ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และ/หรือความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต At present, e-Learning has been introduced to normal classrooms to support and enhance learning channels which allow learners to study anywhere or anytime and to focus on a Student Centered Approach. e-Learning develops different learning styles according to the learning environment of the 21st century. The curriculum of e-Learning must have quality assurance which is the same as other curricula. All distance learning curriculum must develop an efficient assessment system and be suitable for distance learning. The assessment system should comprise of four parts:1) Curriculum management 2) Learning and research resources 3) Support and advice for students 4) Labor markets and social needs or employers’ satisfaction.Downloads
Issue
Section
Articles