การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการประยุกต์ใช้หลักอริยสัจ 4

Authors

  • สมภาพ ไชยโย
  • สมคิด พรมจุ้ย
  • กาญจนา วัธนสุนทร
  • ประเทือง ทินรัตน์

Keywords:

ประกันคุณภาพการศึกษา, อริยสัจ 4

Abstract

          การวิจัยเรื่องการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการประยุกต์ใช้หลักอริยสัจ 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และ 2) ประเมินคุณภาพของระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ (1) กลุ่มตัวอย่างเพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพประกอบด้วยครูและบุคลากรทางการศึกษา 149 คน ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านศาสนา 6 รูปและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประกันคุณภาพ 4 คน (2) กลุ่มตัวอย่างเพื่อประเมินคุณภาพของระบบการประกันคุณภาพประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านศาสนา 3 รูปและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประกันคุณภาพ 4 คน และผู้บริหารสถานศึกษา 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ ระบบการประกันคุณภาพ คู่มือการใช้ระบบการประกันคุณภาพ แบบประเมินคุณภาพ และประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา          ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้          1. ระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการประยุกต์ใช้หลัก อริยสัจ 4 ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ คือ 1) การสร้างสัมมาทิฏฐิต่อการประกันคุณภาพ 2) การวิเคราะห์ปัญหา/ความต้องการจำเป็นของสถานศึกษา (ทุกข์ ) 3) การจัดลำดับความสำคัญของปัญหาของสถานศึกษา 4) การวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องกับสาเหตุของปัญหา (สมุทัย) 5) การวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของปัญหาของสถานศึกษา 6) การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา (นิโรธ) 7) การพิจารณาความเชื่อมโยงระหว่างการประกันคุณภาพภายในกับการประกันคุณภาพภายนอก 8) การกำหนดแนวทางการแก้ปัญหา/การพัฒนาสถานศึกษา และ 9) การปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา/พัฒนาคุณภาพ (มรรค) และการตรวจสอบ/ประเมินระบบโดยหลักญาณ 3          2. ผลการประเมินคุณภาพของระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา พบว่าผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหารมีความเห็นว่าระบบมีคุณภาพตามมาตรฐานการประเมินในด้านความเป็นไปได้ ความเหมาะสม ความถูกต้อง และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก           The purposes of this study were 1) to develop an internal quality assurance system for basic education schools with application of the Four Noble Truths; and 2) to evaluate quality of the developed internal quality assurance system. The research sample comprised two sample groups: (1) 4 experts on educational quality assurance, 6 experts on religion and 149 teachers for development of the internal quality assurance system; and (2) 4 experts on educational quality assurance, 3 experts on religion and 16 administrators for evaluation of the developed internal quality assurance system. The employed research instruments were the interview structures, the questionnaires, the internal quality assurance system, a manual for system usage, the quality evaluation forms and focus group discussion. The quantitative data were analyzed with the basic statistics of percentage, mean, and standard deviation; while the qualitative data were analyzed with content analysis.          Research findings could be concluded as follows:          1. The developed internal quality assurance system for basic education schools with application of the Four Noble Truths consisted of nine components: 1) the creation of Sammãdit ̣t ̣hi toward quality assurance; 2) analysis of the problems and needs of the school (Dukkha); 3) prioritizing of the problems; 4) analysis of the factors related to the problems (Samudaya); 5) analysis of the causal factors of the problems of the school; 6) determination of educational standards of the school (Nirodha); 7) consideration of the connection between internal and external quality assurance; 8) determination of the approaches to be taken for problem solving and school development; and 9) the practice taken for problem solving and quality development (Magga); and the auditing and evaluation of the system with application of the three insight (Ñãna) principle.          2. The results of quality evaluation of the developed system revealed that experts and administrators perceived that the developed system was at the high level quality in accordance with evaluation standards of feasibility, appropriateness, accuracy, and utility.

Downloads