การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จังหวัดสกลนคร

Authors

  • ธีรเชษฐ ปราชญ์ธนจตุพร
  • ปรีชา วิหคโต
  • จิตตินันท์ ชะเนติยัง

Keywords:

การบริหารองค์ความรู้, การเรียนรู้องค์การ, โรงเรียนมัธยมศึกษา, การบริหาร

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จังหวัดสกลนคร เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวิธีดำเนินการวิจัยแบ่ง เป็น 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 กำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัยโดยการวิเคราะห์จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการจัดการความรู้ จำนวน 90 เล่มโดยการเลือกแบบเจาะจง ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการจัดการความรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จากผู้บริหารและครู จำนวน 124 คน ขั้นตอไนที่ 3 สร้างรูปแบบการจัดการความรู้ สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23 โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)และสร้างรูปแบบการจัดการความรู้สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา เป็นฉบับร่างและเขียนผังการไหลของงานแบบหน้ากระดาน (Deployment Flowchart) และขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบการจัดการความรู้สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)          ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการความรู้สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน 11 กิจกรรมหลัก 98 กิจกรรมย่อย ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เตรียมความพร้อม มี 5 กิจกรรมหลัก คือ การสร้างความเข้าใจ การสร้างทีมงาน การศึกษาสภาพ KM การวางแผน การให้ความรู้ และมี 53 กิจกรรมย่อย ขั้นตอนที่ 2 ปฏิบัติการจัดการความรู้ มี 2 กิจกรรมหลักคือ การเตรียมการ และการปฏิบัติการ และมี 27 กิจกรรมย่อย ขั้นตอนที่ 3 ประเมินรูปแบบการจัดการความรู้ มี 4 กิจกรรมหลัก คือการสร้างแบบประเมิน การประเมินรูปแบบ การยกย่องชมเชยและการให้รางวัล การประชาสัมพันธ์ และมี 18 กิจกรรมย่อย 2) การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการความรู้สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ 2 รอบ รอบแรกโดยการสนทนากลุ่ม ได้รูปแบบการจัดการความรู้ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ การเตรียมความพร้อมปฏิบัติการจัดการความรู้ การปฏิบัติการจัดการความรู้ และการประเมินรูปแบบการจัดการความรู้ รอบที่ 2 ประเมินรูปแบบที่ได้โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้วยแบบสอบถาม(Rating Scale) ได้ความเหมาะสมและเป็นไปได้ในระดับมาก           The study was designed to develop the knowledge management model for schools in the Secondary Educational Service Area Office 23. The methodology of the study consisted of four steps: 1) analyzing documents and set up the conceptual frame work ; 2) studying the present situations, the problems and the needs about knowledge management of the schools in the Secondary Educational Service Area Office 23; 3) Constructing the knowledge management model for schools in the Secondary Educational Service Area Office 23; 4) evaluating the knowledge management model for schools in the Secondary Educational Service Area Office 23. The study samples were: 1) 90 purposed sampling documents and research papers related to knowledge management models using content analysis paper. 2) administrators and teachers from schools in the Secondary Educational Service Area Office 23 which were selected by proportional sampling, using a questionnaire. 3) 6 knowledge management experts and 3 supervised administrators with more than 20 years experience which were selected by snowball sampling. The analysis of the data was accomplished by focus group discussion. 4) 5 administrators from schools in the Secondary Educational Service Area Office 23 with more than 20 years experience in administrating schools in the Secondary Educational Service Area Office 23. The analysis of the data was accomplished by mean and standard deviation using a questionnaire. Based upon the finding of the study, it was concluded that;          1) The knowledge management model for schools in the Secondary Educational Service Area Office 23 consisted of three steps, eleven main activities and ninety-eight sub activities as follows : (1) Preparing which consisted of five main activities, making understanding, team building, KM condition studying, planning and knowledge giving with fifty-three sub-activities (2) Acting which consisted of two main activities, arranging and doing with twenty-seven sub-activities (3) Assessing which consisted of four main activities, creating a questionnaire, evaluating, praising and rewarding, publicizing with eighteen sub-activities. 2) The practicability of the knowledge management model for schools in the Secondary Educational Service Area Office 23 was evaluated in two different times. First, by a focus group discussion to correct the model and then by a questionnaire in order to collect the supervisors’ comments and analyzed. The practicability was considerable (mean 3.50-4.49) with the mean of 4.16. 

Downloads