การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม

Authors

  • ชัยมงคล เทพวงษ์

Keywords:

การเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์, การศึกษากับเทคโนโลยี, เครือข่ายคอมพิวเตอร์

Abstract

          วัตถุประสงค์ของการวิจัย (1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม และ (2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารการดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ ระยะแรก คือ การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้ คือ (1) ศึกษาองค์ความรู้ ได้แก่ ตำรา เอกสาร และงานวิจัย ศึกษาสภาพการเรียนการสอนและสัมภาษณ์ผู้รู้เกี่ยวกับการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (2) สอบถามความต้องการเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร จำนวน 5 คน ครูผู้สอน จำนวน 6 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 186 คน รวมทั้งสิ้น 197 คน (3) ร่างรูปแบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (4) ระดมความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน (5) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และ (6) ตรวจสอบและรับรองรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการ แบบระดมความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และรูปแบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระยะที่ 2 การทดลองใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเพื่อทดสอบประสิทธิภาพเบื้องต้น ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 45 คนที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเพื่อทดลองใช้จริง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อีก 1 ห้องเรียน จำนวน 44 คน ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนแบบคู่ขนาน และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ / การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา          ผลการวิจัย มีดังนี้          1) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ พบว่า (1) ผู้บริหาร ครู และนักเรียนส่วนใหญ่มีความต้องการรูปแบบในระดับมาก (2) ผลการระดมความเห็นของผู้เชี่ยวชาญโดยภาพรวมเห็นว่าร่างรูปแบบมีคุณภาพอยู่ในระดับดี และมีความเป็นไปได้ที่นำไปใช้ (3) รูปแบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 9 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 วิเคราะห์และกำหนดผู้เรียน ขั้นที่ 2 วิเคราะห์และกำหนดเนื้อหา ขั้นที่ 3 กำหนดวัตถุประสงค์ ขั้นที่ 4 ออกแบบและผลิตบทเรียนผ่านเครือข่าย ขั้นที่ 5 เตรียมความพร้อมในการเรียน ขั้นที่ 6 จัดสภาพแวดล้อมการเรียน ขั้นที่ 7 ถ่ายทอดเนื้อหาและประสบการณ์ ขั้นที่ 8 ประเมินผลการเรียน และขั้นที่ 9 ประกันคุณภาพ และ (4) ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินและตรวจสอบรับรองว่ารูปแบบดังกล่าวโดยภาพรวมเห็นว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก          2) ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการทดลองใช้เบื้องต้น และการทดลองใช้จริง (1) ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของบทเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีประสิทธิภาพในการทดลองใช้จริง 81.59 / 81.70, 81.89 / 82.05 และ 81.74 / 81.82 ตามเกณฑ์ที่กำหนด E1 /E2  = 80/80 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนมีความคิดเห็นว่ารูปแบบดังกล่าวสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้ในระดับมากที่สุด นักเรียนชอบเรียน และทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครูในระดับมากที่สุด           The purpose of this study was to (1) develop teaching and learning model through computer network in the subject of information technology and communication for Matayom suksa 4 students of Navamindarajudis Matchim school and (2) try out the using model of teaching and learning through computer network in the subject of information technology and communication. There were two phrases in the research. The first phrase was the development of teaching and learning model through computer network in the subject of information technology and communication. The activities of this stage were : (1) studying the knowledge from written tests, documents, previous studies and researches and studying the condition of teaching and learning included with interviewing the experts on teaching and learning through computer network ; (2) inquiring the needs on teaching and learning model. The samples were 197 participants from five school principals, six teachers and 187 students ; (3) drafting the teaching and learning model through computer network ; (4) brainstorming for 9 experts’ opinions ; (5) developing teaching and learning model through computer network and (6) examining and recommending  of this study was the implementation of the model of teaching and learning through computer network. The research samples used in this study for the preliminary efficiency test were 45 Mathayom Suksa 4 students of Navamimdarajudis Matchim School in the second semester of the academic year of 2012 A.D. while the actual samples were another group of 44 Mathayom Suksa 4 students of Navamindrajudis in the second semester of the academic year 2012 A.D. The research instruments were the parallelled pretest and posttest of achievement and the guestionaires for getting students’ opinion. The data was analyzed using the percentile rank, median, standard deviation, the value of effectiveness of E1/E2, t - test and content analysis.          The findings of the study were as follows :          1) the development of teaching and learning model through computer network in the subject of information technology and communication revealed that (1) the school principlas, teachers and students were mostly in need of the model at a high level. (2) the quality of the draft of teaching and learning model was in a good level according to brainstorming of a experts’ opinion and it was possibly utilized in teaching and learning through computer network (3) This developed teaching and learning model comprised of nine steps. The first step was analyzing and identifying contents. The third step was setting objectives. The fourth step was designing and producing the lessons through computer network. The fifth step was preparing for teaching and learning. The sixth step was arranging the learning circumstances. The seventh step was transferring of contents and experiences. The eighth step was evaluating and assessing learning results. The last step was quality accrediting. (4) The experts evaluated and recommended that the model of teaching and learning through computer network was overall of very good quality.          2) The results of the model of teaching and learning through computer network ; both preliminary and actual experiments revealed that (1) the effectiveness of the teaching and learning model through computer network in the subject of information and communication in actual experiment was high as shown by the scores of 81.59/81.70, 81.89/82.05 and 81.74/81.82 against the criterion of E1/E2  = 80/80. (2) The posttest of the student achievement was higher than the pretest at the statistic significance of .05 (3) the students viewed that the model could be utilized in teaching and learning at the highest level. Students loved to study and it encouraged the interaction between students and teachers at the best

Downloads