การจัดการความรู้และแนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2

Authors

  • เสรี ทองคำ
  • เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม

Keywords:

การบริหารองค์ความรู้, การเรียนรู้องค์การ, โรงเรียน, การบริหาร, ชลบุรี

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการปฏิบัติการจัดการความรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามตำแหน่งงาน วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของสถานศึกษา ศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในศึกษาและเปรียบเทียบการปฏิบัติการจัดการความรู้ ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 294 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบอิสระ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของ เชฟเฟ่ ส่วนกลุ่มตัวอย่างในศึกษา         แนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจากสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ในการจัดการความรู้ จำนวน 9 คน จาก 3 โรงเรียน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และลงข้อสรุป ด้วยวิธีอุปนัย          ผลการวิจัย พบว่า การปฏิบัติการจัดการความรู้โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (x = 4.25, SD = .53) เปรียบเทียบการปฏิบัติ จำแนกตามตำแหน่งงาน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนจำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนแนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานผู้เชี่ยวชาญได้เสนอไว้แล้ว โดยควรดำเนินการพัฒนาให้ครอบคลุมทุกด้าน โดยคำนึงถึงวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของสถานศึกษาที่ความแตกต่างกัน           The objectives of this research were to study and compare the state of knowledge management classified by position, educational background, work experience and size of school. And study guideline for development of knowledge management of schools. The sampling group for study and compare the state of knowledge management was teacher 294 persons. Data was analyzed using statistic value of percentage, mean, standard deviation, independent t-test, one-way ANOVA, which paired differential testing by Scheffe’s method. The sampling group for study guideline for development of knowledge management was experts 9 persons in the knowledge management Best Practice schools from 3 schools. Data was analyzed was analyzed using content analysis and inductive analysis.            The research results were as follows: The state of knowledge management of schools, in the overall, found at the most level (x = 4.25, SD = .53). Compare the state of knowledge management classified by position, in the overall, they were not significantly different at .05 level. And Compare the state of knowledge management classified by educational background, work experience and size of school, they were significantly different at .05 level. The guideline for development of knowledge management for schools from experts: Should perform develop knowledge management comprehensive Knowledge Vision (KV) Knowledge Sharing (KS) and Knowledge Assets (KA) with consider to the difference of educational background, the difference of work experience and the difference size of school.

Downloads