ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนกับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2

Authors

  • วรรณธนา หงสกล

Keywords:

ครู, ความพอใจในการทำงาน, ขวัญในการทำงาน, วัฒนธรรมองค์การ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบและหาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนกับ ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้วเขต 2 โดยการศึกษา เปรียบเทียบวัฒนธรรมโรงเรียนและขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู จำแนกตามประเภทของโรงเรียน สถานที่ตั้งและขนาดโรงเรียน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สระแก้วเขต 2 จำนวน 306 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า โดยวัฒนธรรมโรงเรียนมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .24-.89 และค่าความเชื่อมั่น .98 ส่วนขวัญกำลังใจมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .33-.87 และค่าความเชื่อมั่น .98 สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีเซฟเฟ่และการหาความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน          ผลการวิจัย พบว่า          1. วัฒนธรรมโรงเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก          2. ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก          3. เปรียบเทียบวัฒนธรรมโรงเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 จำแนกตาม ประเภทของโรงเรียนคือประถมศึกษาและขยายโอกาสทางการศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านการมอบอำนาจแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามขนาดโรงเรียน คือ ขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ โดยรวม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านความมีคุณภาพและด้านการยอมรับ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนจำแนกตามสถานที่ตั้งโรงเรียนคือ ในเมืองและนอกเมือง โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านความมุ่งประสงค์ของโรงเรียน ด้านการมอบอำนาจและด้านความซื่อสัตย์ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ          4. เปรียบเทียบขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 จำแนกตาม ประเภทของโรงเรียนคือประถมศึกษาและขยายโอกาสทางการศึกษา โดยรวมแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามขนาดโรงเรียนคือ ขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่โดยรวม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งและความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนจำแนกตามสถานที่ตั้งโรงเรียนคือในเมืองและนอกเมือง โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงานแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ          5. ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนกับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 มีความสัมพันธ์ทางบวก ในระดับสูง มีค่าเท่ากับ .88            This research aimed to study and compare the relationship between school culture and teacher morale at Sakaeo Primary Educational Service Area Office 2. The comparison was done as classified by the category, locations and size of schools. The sample group consisted of 306teachers under the Sakaeo Primary Educational Service Area Office2 using the stratified random sampling. The research instrument was five rating scale questionnaire in which the school culture aspect showed the discriminant index of .24 - .89 and the reliability index of .98 ,Where as the teacher morale aspect showed the discriminant index of .33 - .87 and the reliability index of .98 . The statistics used for analyzing the data were mean , standard deviation, t- test, andOne-Way Analysis of Variance , Scheffe and the Pearson Product Moment Correlation.          1. The level of School culture under the Sakaeo Primary Educational Service Area Office 2 was at the high level.          2. The teacher morale was also at the high level.          3. The school culture comparison when classified by school category in Primary School and Educational Expansion School was found no statistically significant difference. However, the aspect of empowerment was statistically significant difference at the .05 level. Meanwhile, classified by the size of school in small, medium and large schools, was found no statistically significant difference but the quality and acceptance were statistically significant difference at the .05 level . Lastly , school culture as classified by the location of school in downtown and suburban schools overall were statistically significant difference at the .05 level . The part of school goal , authorization and honesty were found no statistically significant .          4. The teacher morale under the Sakaeo Primary Educational Service Area Office 2 As classified by the category of school in Primary School and Educational Expansion School overall was no statistically significant. The teacher morale as classified by the size of school in small, medium and large schools, was no statistically significant. But the sense of community and work satisfaction were statistically significant different at the .05 level . The teacher morale as classified by the location of school in downtown and suburban schools overall was statistically significant different at the.05 level . But, the work relationship was no statistical significance.          5. The relationship between school culture and teacher morale under the Sakaeo Primary Educational Service Area Office 2 were positively high with rxy = .88

Downloads