การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนสาธิตสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

Authors

  • ลัดดา หวังภาษิต
  • มารุต พัฒผล
  • วิชัย วงษ์ใหญ่
  • มนัส บุญประกอบ

Keywords:

ภาษาอังกฤษ, การศึกษาและการสอน, ประถมศึกษา, การเรียนรู้, ความสุขในการเรียนรู้

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมบ่งชี้ลักษณะความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 2) พัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนสาธิตสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ด้วยการวิจัยและพัฒนา วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ระยะกล่าวคือ ระยะที่ 1 ศึกษาพฤติกรรมบ่งชี้ลักษณะความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ภาค เรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จากโรงเรียนสาธิตสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจำนวน 4 แห่ง จำนวนนักเรียน 500 คน ใช้แบบวัดคุณลักษณะความสุขในการเรียนรู้แบบมาตราส่วนประเมินค่า(Rating Scales) 5 ระดับที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 40 ข้อ แล้วนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) ของความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้และเครื่องมือประกอบรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญ และทำการศึกษานำร่องกับนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 30 คนระยะที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้โดยใช้ แบบแผนการทดลอง One Group Repeated Measurement โดยสุ่มได้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) จำนวน 208 คน ใช้เวลาในการทดลอง 15 สัปดาห์ๆละ 4 คาบ รวมทั้งสิ้น 60 คาบ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย t-test dependent ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) พฤติกรรมบ่งชี้ลักษณะความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามี 4 องค์ประกอบคือ ด้านผู้เรียน ด้านความสัมพันธ์ ด้านสิ่งแวดล้อมและด้านการเรียนรู้ 2) รูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่เสริมสร้ า งความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสาธิตสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (PEACE) มี 5 ขั้นคือ ขั้นที่ 1 การเตรียมตัวเพื่อเปิดรับข้อมูล (Preparation: P) ขั้นที่ 2 การหาความรู้หรือข้อมูลตามแบบการเรียนรู้และความถนัด ( Explosion) ขั้นที่ 3 การวิเคราะห์ไตร่ตรอง (Analysis: A) ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Co – creation: C) และขั้นที่ 5 การประเมินผล (Evaluation: E) โดยผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า มีความเหมาะสมสำหรับนำไปจัดการเรียนรู้ และเมื่อนำไปทดลองเพื่อตรวจสอบกับนักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่าความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ประสิทธิผล ของรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก การประเมินความสุขในการเรียนรู้ของกลุ่มทดลองก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การประเมินความสุขในการเรียนรู้ของกลุ่มทดลองแต่ละช่วง (5 ช่วง) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การสังเกตพฤติกรรมในการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้ง 5 ช่วงพบว่าร้อยละ 80 – 85 ของผู้เรียนทั้งหมดมีความสุขในการเรียนรู้อยู่ระดับมากและจากการวิเคราะห์แบบบันทึกการสะท้อนผลการเรียนรู้ของนักเรียนของกลุ่มทดลองภายหลังการทดลอง พบว่า นักเรียนสนใจและให้ความร่วมมือในการเรียนรู้และมีความสุขในการเรียนรู้ เมื่อพิจารณาแล้วรูปแบบมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสาธิตสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาต่อไป           The objectives of this research were to develop and validate the behavioral indicators for learning happiness of demonstration school students under The Office of Higher Education Commission and to develop and investigate the effectiveness of the learning model used for enhancing learning happiness by research and development. The research procedure consisted of 3 phases as follows: Phase 1 Developed and validated the behavioral indicators for learning happiness of demonstration school students. The samples were 500 students at elementary level of 4 demonstration schools during the 2013 academic year. The instrumentused in this phase was a learning happiness test with five–rating scale. The questionnaire was analyzed using exploratory factor analysis. Phase 2 Created the learning happiness model and instruments, the suitability of which was under close scrutiny of specialists and was conducted as a pilot study of the learning model and instruments with 30 students in grade 5 during the first semester of the 2013 academic year. Phase 3 Assessed the effectiveness of thelearning model by employing an experimental design “One Group Repeated Measurement”. The samples were 208 students of Prasarnmit Demonstration School (Elementary) in grade 6, during the first semester of the 2013 academic year. The period of study lasted 15 weeks over 60 periods with 4 periods per week scheduled. Data analysis was done by Dependent Samples t-test .The results of this research revealed that:1) The learning happiness characteristics fordemonstration school students consisted of learning happiness in four aspects as follows: 1) Learners 2) Relationship 3) Environment and 4) Learning situation 2) The learning model for enhancing learning with happiness contained 5 steps (PEACE);1. Preparation 2.Explosion 3.Analysis 4. Co-creation and 5.Evaluation. The model was verified by experts and there was a significant statistical difference at .01 level in mean scores for the pilot study group between before and after the experiment.3)The effectiveness of the learning English model for enhancing learning happiness of the demonstration elementary students found that the model was highly suitable for learning happiness of the demonstration elementary students. The mean scores of the experimental group showed that the post-test score was higher than the pre-test score with statistical significance at .01 level. The scores of the experimental group in each periodof time increased by a statistical significance at .01 level. 80 - 85 percent of the students of the experimental group had the learning happiness behaviors. All in all, the developed EnglishModel was considered effective and could be used to enhance learning happiness of the students in a demonstration elementary school. 

Downloads