การสร้างมูลค่าเพิ่มการทอเสื่อกกเพื่อเศรษฐกิจของชุมชนตำบลกระทุ่มแพ้ว อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี

Authors

  • ลักษณพร โรจน์พิทักษ์กุล

Keywords:

การสร้างมูลค่าเพิ่ม, เสื่อกก, เศรษฐกิจ

Abstract

          การวิจัยเองนี้เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มการทอเสื่อกกเพื่อเศรษฐกิจของชุมชนตำบลกระทุ่มแพ้ว อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี โดยศึกษาสถานการณ์การทอเสื่อกก ศึกษากระบวนการเรียนรู้ ปัจจัย เงื่อนไขต่างๆ ของการประกอบอาชีพ โดยวิธีการวิจัยแบบผสมผสานเชิงยืนยัน (Triangulation mixed methods design) และการวิจัยเพื่อพัฒนา (Research & Development) กลุ่มตัวอย่างเป็นครัวเรือนที่ประกอบอาชีพทอเสื่อกกและผู้ที่เกี่ยวข้องรวม 43 คนและครัวเรือนที่ไม่ได้ประกอบอาชีพทอเสื่อกก จำนวน 50 คน เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร แบบสอบถาม การศึกษาภาคสนาม สนทนากลุ่ม การสังเกต และการปฏิบัติการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่าสถานการณ์การทอเสื่อกกของชุมชนตำบลกระทุ่มแพ้วปัจจุบันลดลงจำนวนน้อยลงไปมาก โดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 58 มีรายได้จากการประกอบอาชีพของครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือนมากที่สุด 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 80 มีภาวะหนี้สินมากที่สุด ร้อยละ 73 สำหรับการนำเส้นกกสั้นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชนนั้นประชาชนเห็นด้วยร้อยละ 100 ด้านแบบแผนการทอเสื่อกกของชุมชนเป็นการพึ่งแรงงานในครอบครัว พึ่งทรัพยากรท้องถิ่น พึ่งตัวเอง และพึ่งกันเอง โดยที่ชุมชนมีปัจจัยภายในที่มีศักยภาพอันเป็นรากฐานสำคัญ 3 ประการ คือ 1) โครงสร้างทางสังคม (Structure) 2) ความสามารถในการผลิต (Ability) 3) ทักษะ (Skills) ในการศึกษาได้นำปัจจัยภายในชุมชนมาเป็นฐานของการพัฒนาและนำปัจจัยภายนอกมาเป็นส่วนเสริมในการสร้างมูลค่าเพิ่มการทอเสื่อกกเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชน โดยการใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community based) การให้ความรู้ (Knowledge) และสร้างกระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) การเชื่อมโยงเครือข่ายการเรียนรู้ (Net work) ผลของวิจัยแลพัฒนาครั้งนี้ส่งผลให้ชุมชนตำบลกระทุ่มแพ้วได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากเส้นกก เป็นการนำเส้นกกขนาดสั้นที่ชุมชนขายเส้นกำละ 20 บาท นำมาสานถักลายอิสระเป็นตะกร้าเอนกประสงค์ที่หน่ายผลิตภัณฑ์ได้ในราคาสูงขึ้น มีตลาดรองรับแน่นอนโดยการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับวิสาหกิจชุมชนแปรรูปเสื่อกกบางพลวงที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ ชุมชนได้รับความรู้ใหม่ในด้านเทคนิคการน้อมสีกกแบบถักเปีย เพิ่มช่องทางการจำหน่าย และเชื่อมโยงกับหมู่บ้านใกล้เคียงในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อันเป็นฐานความเข้มแข็งของชุมชนและเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชน สังคม เป็นการสบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มั่นคงต่อไป           This research aims to increase added value to the production of reed mats for the community economy of Kratumpeaw, Bangsrang District, Prachinburi Province. The research was conducted through a study of production situation of reed mats, the process of how such production knowledge is taught and learned, the factors and conditions which are necessary for successful implementation. This research method was conducted through a “triangulation” of mixed method and development research. The sample consisted of 43 people, both directly and indirectly related to read-map production, as well as 50 people whose livelihoods were not involved in reed mat production. The data were collected and analyzed through documents, questionnaires, field studied, discussions, observations, and research participation. The production of reed maps in the study area was one of considerably decreasing output. 58% of the people lead their lives as agriculturalists. 80% of them work in their own family business and earn 5001 – 10000 Baht monthly. 73% of the participants were seriously in debt. 100% of the people involved agreed that the innovation of new product is necessary in order to add value to their community. The study showed that the community was compared of three fundamental, internal factors: 1) social structure, 2) production ability, 3) skill. Within the research project, internal factors in the community were studied in term of how they contributed to the development process. In order to expand the community economic, external factor were used as additional facilitators to promote the increase of the value of reed mat production. The study was conducted through a community-based-approach learning process and a learning network. The research outcome and development prompted the people toward new product development from reed filament. The cheap reed material was more valuable after it was independently woven into multi-purpose basket. Thus, the community could conveniently sell their products at higher prices and were able to find the time and space for independent production. The value-added products were desired in the general marketplace. Moreover, the value added products offered an opportunity for the community to be a part of the reed mat community state enterprise network of Bangpluang. The community gained new knowledge regarding the dyeing techniques for both pigtail and mudmee style and could join neighboring villages in exchanging knowledge in order to strength then the economic prosperity of the community and society, as well as to preserve the stability of local wisdom.

Downloads