ผลของการปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรมต่อแบบแผนการปฏิบัติแห่งตนของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

Authors

  • นิชานันท์ สมคำศรี
  • เพ็ญนภา กุลนภาดา
  • ระพินทร์ ฉายวิมล

Keywords:

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม, เบาหวาน, ผู้ป่วย, การให้คำปรึกษา, จิตวิทยา, การควบคุมตนเอง

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรมต่อแบบแผนการปฏิบัติแห่งตนของผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองรี ที่มีคะแนนแบบแผนการปฏิบัติแห่งตนต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) และสุ่มแบ่งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบวัดแบบแผนการปฏิบัติแห่งตน และโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม เก็บข้อมูลในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการดลอง และระยะติดตามผล จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มแหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่มและทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่แบบนิวแมน-คูลส์          ผลการวิจัยพบว่ามีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาของการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม มีคะแนนเฉลี่ยแบบแผนการปฏิบัติแห่งตนในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05           The purposes of this research were to study the effects of rational emotive behavior group counseling on The Self-System of diabetic mellitus patients. The sample used in this study consisted of the diabetic mellitus patients in Tombon Nongree Health Promoting Hospital, who had Self-System score less than 25th percentile. The sample in the experimental group and the control group; each group comprising ten patients. The data collecting procedure was divided in to three phases: the present, the posttest, and the follow-up. The instruments were the Self-System scale and the rational emotive behavior group counseling program. The data was analyzed by repeated measure analysis of variance: one between-subjects variable and one within-subject variable and paired-different test by Newman-Keuls procedure.          The results of the study indicated that there was statistically significant interaction at .05 levels between the method applied and the duration of experiment. The diabetic mellitus patients in the experimental group had higher than Self-System in the posttest and the follow-up phases than the present phases and higher than in the control group with statistically significant at .05 levels.

Downloads