การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนด้านการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง

Authors

  • วีระพันธ์ พานิชย์
  • มนตรี แย้มกสิกร
  • พงศ์ประเสริฐ หกสุวรรณ

Keywords:

การเรียนรู้ร่วมกัน, การแก้ปัญหา, ชุมชน

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนด้านการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีดำเนินการวิจัยมี 6 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาเอกสารงานวิจัยทฤษฎี ที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) ศึกษากระบวนการเรียนรู้ของชุมชนภาคสนาม หมู่บ้านท่าระม้าบน หมู่ที่ 10 ตำบลมะขาม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี เก็บข้อมูล 3 วิธีการได้แก การสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าด้านวิธีการ (methodological triangulation) 3) สังเคราะห์ต้นแบบชิ้นงาน 4) ประชุมวิพากษ์ แก้ไชปรับปรุง และ ประเมินผลการใช้รูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5) ใช้รูปแบบในสถานการณ์จริง 1 วงรอบตามข้อกำหนดของรูปแบบ 6) ประเมินผลการใช้รูปแบบในสถานการณ์จริง โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม แลละแบบสอบถาม          ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนด้านการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองมีองค์ประกอบดังนี้ 1) ปัจจัยนำเข้า (input) ประกอบด้วย (1) ผู้มรส่วนเกี่ยวข้องได้แก่ ผู้นำชุมชน กรรมการชุมชน สมาชิกชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ / เอกชน (2) เครื่องมือ ได้แก่ การประชุม การอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน แผนงาน / โครงการ (3)หลักการ ได้แก่ มีส่วนร่วม ประชาธิปไตย 2) กระบวนการ (process) มี 6 ข้นตอน ได้แก่ เจาะวิกฤติ ขบคิดปัญหา, แสวงหาทางแก้ไข, ประสานใจหน่วยงาน,สร้างแผนการปฏิบัติ, เร่งรัดลงมือทำ, นำผลงานถอกบทเรียน 3) ผลผลิต (output) ประกอบด้วย (1) ชุมชนรู้จักและรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชน (2) ชุมชนสามารถวิเคราะห์ปัญหาและค้นหาศักยภาพของตนเองได้ (3) ชุมชนสามารถเลือกแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม (4) ชุมชนการมีกรระบวนการติดตามแลละประเมินผลการดำเนินงาน 4) ผลย้อนกลับ (feedback) ได้แก่ การปรับปรุงแก้ไข          ผลการประเมินรูปแบบ ด้านผู้ทรงคุณวุฒิ 17 ท่าน ในด้านความชัดเจนของขั้นตอน และความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปปฏิบัติจริง สรุปในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผลการใช้รูปแบบในสถานการณ์จริง กรณีปัญหาประชาชนขาดความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต พบว่า 1) ชุมชนรู้จักและรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 2) ชุมชนสามารถวิเคราะห์ปัญหาและค้นหาศักยภาพตนเองในการแก้ปัญหา 3) ชุมชนสามารถเลือกแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม 4) ชุมชนมีการติดตามผลการดำเนินงาน           This study aims to develop a collective learning process model for people in the community to solve problem. The study used qualitative research method with six key steps: 1) review literature and interview with expert by structured interview, 2) conduct the field research to study the learning process of people in the community which is located in a Tharama village (village no.10) Makham sub-district, Makham district, Chanthaburi Province; this step involved 3 approaches consisting the in-depth interview with key leaders in community, interview with members in community, and participant observation. 3) Create the first draft of model. 4) focus group meeting to critique and evaluate the first draft of model by using questionnaire with 5 level rating scale 5) implement the model in the real situation in a  Tharama village (village no.10) Makham sub-district, Makham district, Chanthaburi Province. 6) Evaluate the model people used in the community by group discussions and questionnaire  with 5 level rating scales          It was found that the collective learning process models for community’s problem solving are required the following element:          1. Input: the principle is the co-operation and democracy with the participation of 1) people in the community includes leader, staffs, and members; and 2) local organizations of government/ private organization. A strategy to implement includes seminars, conferences, study visits, and working plans.         2. Process: 1) Identify the problem, 2) Explore alternative, 3) coordinate with the agencies/organizations to solve problem, 4) Specify the action plan, 5) Implement the action plan rapidly, 6) Evaluate strengths and weakness for prevent potential problem in the future.          3. Output: 1) people in the community will know the problem occurring in their community, 2) people in the community analyze problem and know their competency, 3) Community can solve the problem by ways that suit to their own community, 4) the community has a process to track and evaluate their performance         4. Feedback: improve and change gain. Seventeen experts evaluated and rated the quality of collective learning process model for community problem solving as high level in term of classification and feasibility. This model has been implemented in the real situation in a Tharama village (village no.10) Makham sub-district, Makham district, Chanthaburi Province and showed that 1) people in community were awarded the impact of the computer and the internet development to their daily life. 2) People in the community analyze problem related to lack of knowledge and skills in using computer and the internet and found their own solutions to deal with. 3) People in the community could find strategies to solve problem properly. 4) People in the community had planned to follow up and evaluated their performance.

Downloads