การสร้างกระบวนการนิเทศตามแนวการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย

Authors

  • ศิรประภา พฤทธิกุล

Keywords:

การจัดการเรียนรู้, การฝึกปฏิบัติการสอน, การศึกษาปฐมวัย, กระบวนการนิเทศ

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างกระบวนการนิเทศตามแนวการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน และ 2) ทดลองใช้และศึกษาผลด้านสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่เข้าร่วมการวิจัย การดำเนินการวิจัยปฏิบัติการเชิงการปฏิบัติจริงจำแนกได้ 3 วงจร ได้แก่ 1) การสร้างกระบวนการนิเทศฯ 2) การทดลองใช้กระบวนการนิเทศฯ และ 3) การตรวจสอบกระบวนการนิเทศฯ ผู้เข้าร่วมการวิจัยคือนิสิตที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาปีการศึกษา 2556 จำนวน 7 คน            ผลการวิจัย มีดังนี้            1.กระบวนการนิเทศฉบับทดลองใช้ มีโครงสร้างดังนี้ 1) แนวคิดพื้นฐาน ได้แก่ การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน การนิเทศนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู การเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2) หลักการพื้นฐาน ได้แก่ ส่งเสริมการเรียนรู้ที่ลุ่มลึกและต่อเนื่อง ส่งเสริมให้นิสิตเป็นผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเองอย่างกระตือรือร้นและมีความหมาย ส่งเสริมให้นิสิตเป็นผู้ไตร่ตรองสะท้อนการสอนด้วยตนเองโดยมีอาจารย์นิเทศก์เป็นผู้ชี้แนะ และส่งเสริมการทำงานแบบร่วมมือร่วมพลัง 3) วัตถุประสงค์ คือ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย 4) เนื้อหา ประกอบด้วย การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยและกระบวนการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน 5) กระบวนการนิเทศมี 6 ขั้น ได้แก่ กำหนดเป้าหมาย วางแผนบทเรียนสอนและสังเกตการณ์สอน สะท้อนการสอน ปรับปรุงบทเรียน และสรุปและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 6) กลุ่มพัฒนาบทเรียนร่วมกันมีลักษณะเป็นกลุ่มที่ร่วมมือร่วมพลังโดยสมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมตลอดทุกขั้นตอนของกระบวนการ 7) การประเมินผล ได้แก่ การประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้และความพึงพอใจของนิสิตผู้เข้าร่วมการวิจัย            2. ภายหลังการทดลองใช้กระบวนการนิเทศตามแนวการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน พบว่า สามารถช่วยพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยได้ โดย 2.1) นิสิตทุกคนมีระดับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับ 3 ขึ้นไปทุกรายการ 2.2) นิสิตทุกคนมีการพัฒนาระดับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สูงขึ้น 1-4 ระดับ ในทุกตัวบ่งชี้            The purposes of this research study were to 1) construct the supervision process through Lesson Study Approach, and 2) experiment and study the effects of Lesson Study on early childhood teacher students’ learning organization competency. The practical action research procedure was divided into 3 phases which were 1) the construction of the supervision process, 2) the experimentation of the supervision process, and 3) the assessment of the supervision process. The research participants were 7 early childhood teacher students, faculty of education, Burapha University in academic year 2013.            The research findings were as follows:            1.The supervision process consisted of 1) the fundamental concepts were lesson Study Approach, supervision of teacher students, and child-centered; 2) the fundamental principles were to enhance deeply and continuity learning, to enhance learner participate in actively and meaningful of self-development, to enhance learner reflect of teaching by coaching from supervisor, and to emphasize collaborative work; 3) the purposes were to enhance early childhood teacher students’ learning organization competency; 4) contents consisted of learning experiences organization for early childhood and Lesson Study Process; 5) the supervision process consisted of six steps that were focusing the goal, planning the lesson, teaching and observing the lesson, reflecting the lesson, revising the lesson, and concluding and sharing the lesson; 6) the characteristic of Lesson Study Group was collaborative the all of members were participate in every step; 7) evaluation consisted of learning organization competency and satisfactory of research participants.            2. After the experiment the supervision through Lesson Study Process, it was found that the participants had improved their learning organization competency, that were as follows: 2.1) All participants improved their learning organization competency that were no less than level 3 in all indicators. 2.2) All participants improved their level of learning organization competency by 1-4 level in all indicators.

Downloads