องค์ประกอบคุณลักษณะของผู้นำสตรีทางการศึกษาที่เอื้อต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Authors

  • วิลาสินี ชำนาญกุล
  • เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์
  • ไพโรจน์ กลิ่นกุหลาบ
  • สงวนพงศ์ ชวนชม

Keywords:

ผู้นำสตรี, การบริหารการเปลี่ยนแปลง, การศึกษา

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณลักษณะของผู้นำสตรีทางการศึกษาที่เอื้อต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเพื่อวิเคราะห์ความเที่ยงตรงตามสภาพจริง (Concurrent Validity) ของตัวบ่งชี้ดังกล่าว โดยวิเคราะห์ยืนยันกับกลุ่มผู้รู้แจ้งชัด (Known Group) ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยโดยศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสัมภาษณ์ผู้รู้และผู้มีประสบการณ์ เพื่อกำหนดเป็นองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ นำมาสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญ 7 คน ได้ค่า I-CVI เท่ากับ .71-1.00 และค่า S-CVI เท่ากับ .98 นำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสถานศึกษาสตรีสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 50 คน ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 และนำแบบสอบถามไปเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง คือผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสถานศึกษาสตรีสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 760 คน นำมาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) สกัดปัจจัยเพื่อพิจารณาจัดกลุ่มตัวแปรด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลักและหมุนแกนแบบออโธโกนอล ด้วยวิธีแวริแมกซ์ จากนั้นผู้วิจัยได้นำตัวบ่งชี้ที่ได้จากการดำเนินการข้างต้นมาสร้างแบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มผู้รู้แจ้งชัด คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษาสตรีที่ปฏิบัติหน้าที่สถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 45 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test            ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบคุณลักษณะของผู้นำสตรีทางการศึกษาที่เอื้อต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ 53 ตัวบ่งชี้ สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวบ่งชี้ได้ร้อยละ 74.43 เรียงตามค่าร้อยละของการอธิบายความแปรปรวนจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ 1) ด้านพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงมี 15 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล 8 ตัวบ่งชี้ 3) ด้านการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงมี 9 ตัวบ่งชี้ 4) ด้านการพัฒนาตนเองมี 6 ตัวบ่งชี้ 5) ด้านการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนามี 5 ตัวบ่งชี้ 6) ด้านความมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จมี 4 ตัวบ่งชี้ 7) ด้านการบริหารอารมณ์มี 3 ตัวบ่งชี้ และ 8) ด้านนวัตกรรมในการจัดการมี 3 ตัวบ่งชี้ จากการนำตัวบ่งชี้ที่ค้นพบไปทดสอบกับกลุ่มผู้รู้แจ้งชัด ปรากฏว่ามีนัยสำคัญทางสถิติทุกตัวบ่งชี้ ซึ่งสามารถยืนยันได้ว่าตัวบ่งชี้ทั้ง 53 ตัว มีความเที่ยงตรงตามสภาพจริง            The purposes of this research were to study a characteristic and indicators of factors of women education leaders to support the change management in the northeast and to ensure concurrent validity of those indicators. The factors and indicators were determined after an extensive review of literature and interviews of the educated, the experienced. The research instrument used for collecting data was a five rating scale questionnaire. The I-CVI was .71-1.00 and the S-CVI was .98 by 7 education specialists. The questionnaires were tried out with 50 women school directors and women school deputy directors under Primary Education Service Area Office in the northeast. The level of confidence was .98. Sample of the study consisted of 760 samples. The data were analyzed by using exploratory factor analysis, principal component analysis, and orthogonal varimax rotation. Then a questionnaire base on the indicators was given to 45 women school directors in the northeast in the known group. Data analysis was done by using t-test.            The findings of this research were 8 factors and 53 indicators of a characteristic of women education leaders to support the change management in the northeast. The variance of 53 indicators was 74.43. Loading value ranked from the highest to the lowest included 1) Behavior for Change with 15 indicators 2) Relationships with 8 indicators 3) Communication for Change with 9 indicators 4) Self Development with 6 indicators 5) Change for the Development with 5 indicators 6) Commitment to Success with 4 indicators 7) Emotional Management with 3 indicators and 8) Innovation in Management with 3 indicators.            The analysis of the indicators to the known groups showed statistical significance. This assured that the 53 indicators were concurrent validity.

Downloads