การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทางกระบวนการสร้างสรรค์ด้วยปัญญาเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะของผู้เรียนด้านการสื่อสารทางคณิตศาสตร์

Authors

  • อินทิรา ลิ่มวิวัฒนา
  • ไพโรจน์ เบาใจ

Keywords:

การเรียนการสอนคณิตศาสตร์, สร้างเสริมสมรรถนะ, การสื่อสารทางคณิตศาสตร์

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทางกระบวนการสร้างสรรค์ด้วยปัญญาเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะของผู้เรียนด้านการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพ E1/E2เท่ากับ 80/80 เปรียบเทียบสมรรถนะของผู้เรียนด้านการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนและศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อรูปแบบการเรียนการสอนที่สร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนอนุบาลชลบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) 1 ห้องเรียน จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบบทดสอบวัดสมรรถนะของผู้เรียนด้านการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อรูปแบบการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent Sample            ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทางกระบวนการสร้างสรรค์ด้วยปัญญาเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะของผู้เรียนด้านการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ มีประสิทธิภาพ E1/E2= 84.00/82.30 2) สมรรถนะของผู้เรียนด้านการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด            The purposes of this research were to develop the mathematics instructional model according to constructionism for enhancing learner competency in mathematics communication with a required efficiency E1/E2at the criterion 80/80, to compare the mathematics communication learner competency before and after learning from the mathematics instructional model and examine the students’ satisfaction toward the mathematics instructional model. The sample were 40 students of Prathomsuksa 4/1 at Anubanchonburi School, the 2nd semester, 2013, obtained by using the cluster sampling technique. The research instruments were the mathematics instructional model according to constructionism for enhancing mathematics communication learner competency, The pre-test and post-test of the mathematics communication learner competency and the satisfaction towards the mathematics instructional model questionnaires. The data were analyzed using the descriptive statistics of percentages, means, standard deviation, and the inferential statistics of t-test dependent sample.            The research results were as follow: 1) The efficiency of the mathematics instructional model according to constructionism for enhancing mathematics communication learner competency was 84.00/82.30. 2) The mathematics communication learner competency of the sample after using the mathematics instructional model was higher than before using at .05 level of significance and 3) The students’ satisfaction toward the mathematics instructional model was at the highest level.    

Downloads