การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในอำเภอแม่ฟ้าหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3

Authors

  • กฤชฐา พลตรี
  • จินดา ศรีญาณลักษณ์

Keywords:

องค์การแห่งการเรียนรู้, แม่ฟ้าหลวง, การบริหารจัดการ, การเรียนรู้, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย

Abstract

            การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบแนวทางการบริหารจัดการองค์การแห่งการเรียนรู้ การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการองค์การแห่งการเรียนรู้ และการตรวจสอบความเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารจัดการองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในอำเภอแม่ฟ้าหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จในการบริหารจัดการความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 2 การสร้างแนวทางการบริหารจัดการองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในอำเภอแม่ฟ้าหลวง ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย จำนวน 3 รอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 18 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) และแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าพิสัยควอไทล์ (Interquartile Rang)ขั้นตอนที่ 4 การศึกษาความเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารจัดการความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) สอบถามผู้บริหาร หัวหน้าสายชั้น หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 142 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ และค่าร้อยละ ขั้นตอนที่ 5 สรุปและเสนอรายงานผลการวิจัย             ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการบริหารจัดความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้มี 8 องค์ประกอบ คือ ความคิดเชิงระบบ (System Thinking) การรับรู้ส่วนตน (Personal Mastery) การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Shared vision) แบบแผนความคิด (Mental Model) การเรียนรู้เป็นทีม (Team (Learning Climate) และสภาวะของการเป็นผู้นำ (Leadership Circumstance) แต่ละองค์ประกอบมีกิจกรรมที่ปฏิบัติได้จริง 5-6 กิจกรรม และกิจกรรมอันดับแรกของแต่ละองค์ประกอบมีดังนี้ 1) การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) ได้แก่ผู้บริหารจัดโครงสร้างงานวิชาการให้มีความเหมาะสมกับสภาพโรงเรียน 2) การรับรู้ส่วนตน (Personal Mastery) ได้แก่ผู้บริหารสนับสนุนให้ครูแสวงหาแนวทางในการพัฒนาตนเองในสาขาวิชาของตน 3) การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) ได้แก่ ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระตามความต้องการของครู นักเรียน ในกิจกรรมต่าง ๆ 4) แบบแผนความคิด (Mental Model)  ได้แก่ ผู้บริหารมีการส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีอุดมคติในการปฏิบัติงาน 5) การเรียนรู้เป็นทีม (Team Learning) ได้แก่ ผู้บริหารและครูปฏิบัติงานโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน 6) การจัดการความรู้ (Knowledge Management) ได้แก่ ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนแก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 7) การสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ (Learning Climate) ได้แก่ ครูจัดแหล่งเรียนรู้ที่เสริมสร้างประสบการณ์ให้นักเรียน 8) สภาวะของการเป็นผู้นำองค์การ (Leadership Circumstance) ได้แก่ ผู้บริหารส่งเสริมให้มีการยอมรับนับถือ ไว้วางใจ เชื่อมั่นบุคลากรที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้นำสำหรับผลการตรวจสอบความเหมาะสมของแนวทางการบริหารจัดการความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ สามารถนำไปสู่การปฏิบัติจริงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในอำเภอแม่ฟ้าหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3 ได้ทุกองค์ประกอบและทุกกิจกรรม             The purposes of this study were to investigate the guidelines for learning organization management of basic schools, to develop the guidelines for learning organization management of basic schools and to examine the guidelines for learning organization management of Amphore Maefahlaung under Chiangrai primary educational service area office 3. The methodology of this research consisted of five steps: 1) Analyzing documents and in-depth interviewing of the administrators who were successful for learning organization management, and setting up the conceptual frame work; 2) Constructing the guidelines for learning organization management of schools in Amphore Maefahlaung under Chiangrai primary educational service area office 3; 3) developing the guidelines for learning organization management based on Delphi technique for 3 times from 18 learning organization experts by in-depth questionnaires and 5 rating scale questionnaires. The statistical data analysis were Median, Mean and Interquartile Rang; 4) Examining the guidelines for learning organization management by the questionnaire for collection the data from 142 of administrators, head of class levels and head of educational departments. The statistical data analysis were frequency and percentage; 5) Summarizing, discussing and presenting the findings of this research.             The findings of this research revealed that: The appropriate guidelines of learning organization management for basic school were as follows: Systems Thinking, Personal Mastery, Shared Vision, Mental Model, Team Learning, Knowledge Management, Learning Climate and Leadership Circumstance, which each one consists of different activity that can actually do first, which are: 1) Systems Thinking : The administrator provides the academic structure with the school surrounding; 2) Personal Mastery :The administrator supports the teachers to find out the guideline for self-development into their majors; 3) Shared Vision :The administrator supports the teachers to freely share their opinions which depend on the requirement of teachers and students for joining the activities; 4) Mental Model :The administrator supports the teachers and educational personnel have the ideal of working and supporting the teachers are proud of their rules and duties; 5) Team Learning :The administrator and teachers work by learning experience sharing: 6) Knowledge Management :The administrator accepts and trusts the teachers to manage the teaching by facilitating student-centered learning; 7) Learning Climate :The teachers provide learning sources for supporting leaning experience to students; 8) Learning Circumstance :The administrator supports to accept and trust someone who is appointed as the leader for supporting the students pay participate in teamwork with all teachers. The result of examination the guidelines for learning organization management concluded that all components and activities are suitable and acceptable.

Downloads