การเสริมสร้างจิตลักษณะเพื่อพัฒนาพฤติกรรมรับผิดชอบในหน้าที่ของนักเรียนวัยรุ่น

Authors

  • สมศรี ทองนุช

Keywords:

ความรับผิดชอบ, ความรับผิดชอบในวัยรุ่น, การควบคุมตนเองในวัยรุ่น, จิตลักษณะ

Abstract

            การวิจัยเรื่อง การเสริมสร้างจิตลักษณะเพื่อพัฒนาพฤติกรรมรับผิดชอบในหน้าที่ของนักเรียนวัยรุ่นมีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการ คือ เพื่อค้นหาวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงในการเสริมสร้างจิตลักษณะเพื่อพัฒนาพฤติกรรมรับผิดชอบในหน้าที่ของนักเรียนวัยรุ่น และต้องการหาคำตอบว่านักเรียนวัยรุ่นประเภทใดจะได้รับประโยชน์จากการฝึกแบบใดมากที่สุด ด้านการเสริมสร้างจิตลักษณะสำคัญ 2 ประการ คือ เจตคติต่อพฤติกรรมรับผิดชอบในหน้าที่และลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน โดยได้พิจารณาจิตลักษณะพื้นฐานของนักเรียนวัยรุ่นอีก 4 ประการ ได้แก่ สุขภาพจิต ความเชื่ออำนาจในตน ความตระหนักในเรื่องหน้าที่ และความตั้งใจที่จะมีพฤติกรรมรับผิดชอบในหน้าที่ประกอบการพัฒนาด้วย            กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพศชาย จำนวน 120 คน ก่อนการฝึกได้มีการวัดจิตลักษณะพื้นฐาน 4 ด้าน และจิตลักษณะที่ฝึก 2 ด้าน ต่อจากนั้นได้สุ่มนักเรียนวัยรุ่นเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเพื่อฝึกเนื้อหาและวิธีการที่ต่างกัน ดังนี้ กลุ่มที่หนึ่งได้รับการฝึกเจตคติต่อพฤติกรรมรับผิดชอบในหน้าที่และลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน กลุ่มที่สองได้รับการฝึกเจตคติต่อพฤติกรรมรับผิดชอบในหน้าที่ กลุ่มที่สามได้รับการฝึกลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน และกลุ่มที่สี่ เป็นกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการฝึกในเนื้อหาดังกล่าวแต่ให้ทำกิจกรรมอื่นแทน            ภายหลังการฝึกได้มีการวัดการจัดกระทำด้วยการวัดตัวแปรที่เป็นจิตลักษณะที่ฝึก และพฤติกรรมรับผิดชอบในหน้าที่ คือ เจตคติต่อพฤติกรรมรับผิดชอบในหน้าที่ ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน พฤติกรรมรับผิดชอบต่อหน้าที่ในครอบครัว และพฤติกรรมรับผิดชอบต่อหน้าที่ในโรงเรียน โดยวัดทันทีหลังการฝึกเสร็จสิ้น            ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนวัยรุ่นที่ได้รับการฝึกเจตคติต่อพฤติกรรมรับผิดชอบในหน้าที่และลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน มีเจตคติที่ดีต่อพฤติกรรมรับผิดชอบในหน้าที่และลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนสูงกว่าไม่ได้รับการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) นักเรียนวัยรุ่นที่ได้รับการฝึกเจตคติต่อพฤติกรรมรับผิดชอบในหน้าที่และลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนทั้งสองด้าน หรือฝึกด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว มีพฤติกรรมรับผิดชอบต่อหน้าที่ในครอบครัวและในโรงเรียน สูงกว่านักเรียนวัยรุ่นที่ไม่ได้รับการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) นักเรียนวัยรุ่นที่มีความพร้อมทางจิตใจสูง อิทธิพลของการฝึกเจตคติต่อพฤติกรรมรับผิดชอบในหน้าที่และลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนมีผลต่อจิตลักษณะที่ฝึก และพฤติกรรมรับผิดชอบต่อหน้าที่ในครอบครัวและโรงเรียนชัดเจนกว่านักเรียนวัยรุ่นที่มีความพร้อมทางจิตใจต่ำ และ 4) ในกลุ่มที่ได้รับการฝึกตัวแปรจิตลักษณะที่ฝึกและจิตลักษณะพื้นฐานร่วมกันทำนายจิตลักษณะที่ได้รับการฝึกและพฤติกรรมรับผิดชอบต่อหน้าที่ในครอบครัวและโรงเรียนได้เท่าเทียมกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึก และตัวทำนายจิตลักษณะที่ได้รับการฝึกและพฤติกรรมรับผิดชอบในหน้าที่ได้สูงสุดคือ เจตคติต่อพฤติกรรมรับผิดชอบในหน้าที่ ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน ความตั้งใจที่จะมีพฤติกรรมรับผิดชอบในหน้าที่และความเชื่ออำนาจในตนตามลำดับ            The purposes of this research entitles, Psychological Traits Enhancing for Development of Responsible Behaviors of Teenage Students, were to discover the high-efficiency methods in promoting psychological traits for development responsible behaviors of teenage students and to find out which types of teenagers received the most benefits from each types of training. The research employed two psychological traits. The promotion of psychological traits were the attitude toward responsible behaviors and the future orientation and self control by consideration of psychological traits of teenagers in four aspects such as mental health, Internal locus of control, awareness of duty, intention to act responsibly.            Sample group were 120 male students who studied in Grade 8. Before training, their psychological traits were measured in four aspects and the two trained-psychological traits. After that, the teens were randomly assigned to the experimental groups and the control groups for different training and approaches. Group 1 was trained on the attitude toward responsible behavior and the future orientation and self control. Group 2 was trained on the attitude toward responsible behavior. Group 3 was trained on the future orientation and self control. Group 4 did not get any training, but they were assigned to do other activities.            After the training, the manipulations were measured by measuring the variable in the trained psychological traits and the responsible behavior such as attitude toward responsible behaviors, future orientation and self control, responsible behavior in the family, and responsible behavior at school. The traits and the behaviors were measured immediately after the training.            The research found four important results. First, teenage students who were trained on the attitudes toward responsible behavior and future orientation and self control had good attitude toward responsible behavior and future orientation and self control had significantly higher before psychological traits training. Second, teenage students who were trained on attitude toward responsible behaviors and future orientation and self control in both aspects, or either aspect had significantly higher responsible behaviors in family and at school that teenage students who were not trained. Third, among teenage students who had high mind readiness, the influence of training on attitude toward responsible behaviors and future orientation and self control effect to trained psychological traits and the responsible behaviors in family and at school were clearer that teenage students with low mind readiness. Fourth, in the group of students who were trained on psychological trait variable and basic psychological traits and in the group of students who were not trained equally co-predicted the trained psychological traits and responsible behaviors in family and at school. The best predictors of the train psychological traits and the behaviors were attitude towards the responsible behaviors, future orientation and self control, intention to act responsible and internal locus of control, respectively. 

Downloads