ผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีกลยุทธ์ต่อการยืนยันคุณค่าในตนเองของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์

Authors

  • ศุภวรรณ ตัณฑิกุล
  • เพ็ญนภา กุลนภาดล

Keywords:

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม, ความนับถือตนเอง, การพัฒนาตนเอง, ความเชื่อมั่นในตนเอง

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีกลยุทธ์ต่อการยืนยันคุณค่าในตนเองของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนิสิตชั้นปีที่ 2 จำนวน 16 คน โดยคัดเลือกจากนิสิตที่มีคะแนนการยืนยันคุณค่าในตนเองต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 ลงมา สุ่มกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลอง 8 คน และกลุ่มควบคุม 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดการยืนยันคุณค่าในตนเองและโปรแกรมการปรึกษากลุ่มทฤษฎีกลยุทธ์ ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองการให้การปรึกษากลุ่มทฤษฎีกลยุทธ์ จำนวน 6 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที โดยใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองสองตัวประกอบแบบวัดซ้ำหนึ่งตัวประกอบ แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีบอนเฟอร์โรนี่          ผลการศึกษาพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นิสิตกลุ่มทดลองมีคะแนนการยืนยันคุณค่าในตนเองสูงกว่านิสิตกลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนิสิตกลุ่มทดลองมีคะแนนการยืนยันคุณค่าในตนเองในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05          This experimental research aimed to study the effects of strategic group counseling on self-affirmation of student, Faculty of Education, Burapha University. The participants comprised of 16 second-year students who had score in self-affirmation lower than the 25th percentile. The simple random sampling method was adopted to assign them into two groups: an experimental group and a control group, with eight students in each group. The instruments were the measurement of self-affirmation and interventional program strategic group counseling. The intervention was administered for six sessions. Each session lasted about 60 minutes. The research design was two-factor experiment with one factor repeated measures in three phases: the pre-test phases, the post-test phases and the follow-upphases. The data were analyzed using repeated measures analysis of variance: one between-subjects variable and one within-subjects variable and tested of pair differences using Bonferroni Procedure. The results revealed that there was statistically significant interaction at .05 level between the method and the duration of the experiment. The level of self-affirmation in the experimental and the control groups were statistically significant different at .05 level when measured in the post-test and follow-up phases. The levels of self-affirmation the experimental group in the post-test and follow-up phases were statistically significant higher at .05 level compare to the pre-test phase

Downloads