ผลการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีปัญญานิยมต่อพฤติกรรมการผัดวันประกันพรุ่งของนิสิตปริญญาตรี

Authors

  • ศรัณยา รพีอาภากุล
  • ระพินทร์ ฉายวิมล
  • ดลดาว ปูรณานนท์

Keywords:

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม, การผัดวันประกันพรุ่ง, ความเกียจคร้าน, ทฤษฎีปัญญานิยม

Abstract

          การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีปัญญานิยมต่อพฤติกรรมการผัดวันประกันพรุ่งของนิสิตปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ที่มีคะแนนพฤติกรรมการผัดวันประกันพรุ่งสูงกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 75 และสมัครใจเข้าร่วมทดลอง จำนวน 16 คน โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย และสุ่มแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 8 คน ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีปัญญานิยมจำนวน 12 ครั้ง ครั้งละ 90 นาที และกลุ่มควบคุม 8 คน ไม่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีปัญญานิยมเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย แบบประเมินการผัดผ่อนในการทำงานของตนเองและโปรแกรมการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีปัญญานิยม เก็บข้อมูลในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่มและวิธีทดสอบรายคู่แบบบอนเฟอร์โรนี          ผลการศึกษาพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาของการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นิสิตปริญญาตรีกลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมการผัดวันประกันพรุ่งต่ำกว่ากลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนิสิตปริญญาตรีกลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมการผัดวันประกันพรุ่งในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลต่ำกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05          The purpose of this research was to study the effect of the cognitive group counseling on procrastination behavior of undergraduate students. Participants were 16 second-year students of Faculty of Education at Burapha University, Chonburi in 2013 who had scores on the procrastination behavior higher than 75th percentile rank. They were randomly assigned into two groups (the experimental group and the control group), eight students per group. The instruments were the Procrastination Assessment Scale-Student and the Cognitive Theory Group Counseling Program. Data were collected in three phases: pre-experiment, post-experiment, and follow-up, then analyzed through repeated-measure analysis of variance: one between-subject and one within-subjects, including pair comparison through the Bonferroni Procedure. The results revealed that there was a statistically significant interaction between the method and the duration of the experiment. At post-test and follow-up phrases, the mean scores of procrastination behavior among undergraduate students in experimental group had lower than the control group’s scores at .05 level. The mean scores of procrastination behavior among undergraduate students in experimental group at post-test and follow-up phrase were significantly lower than the pre-test phrase at .05 level.

Downloads