ผลการปรึกษาครอบครัวตามทฤษฎีกลยุทธ์ต่อความขัดแย้งในครอบครัวของคู่สามีภรรยาวัยรุ่น
Keywords:
การให้คำปรึกษาครอบครัว, ครอบครัว, ความขัดแย้ง, จิตวิทยา, สามีและภรรยาAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้การปรึกษาครอบครัวตามทฤษฎีกลยุทธ์ของสามีภรรยาวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นสามีภรรยาวัยรุ่นตอนปลาย อายุระหว่าง 20-25 ปี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 10 ครอบครัว รวมทั้งสิ้น 20 คน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคะแนนเฉลี่ยความขัดแย้งในครอบครัวสูงที่สุด 10 ครอบครัว สุ่มเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 5 ครอบครัว รวมทั้งสิ้นกลุ่มละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดความขัดแย้งในครอบครัว และโปรแกรมการให้การปรึกษาครอบครัวตามทฤษฎีกลยุทธ์ ดำเนินการทดลองการให้การปรึกษา จำนวน 8 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที โดยใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองแบบสองตัวประกอบแบบวัดซ้ำหนึ่งตัวประกอบ แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีบอนเฟอร์โรนี่ ผลการศึกษาพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาของการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามีและภรรยาวัยรุ่นในกลุ่มทดลองมีคะแนนความขัดแย้งในครอบครัวต่ำกว่ากลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามีและภรรยาวัยรุ่นในกลุ่มทดลองมีคะแนนความขัดแย้งในครอบครัวในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลต่ำกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The research aimed to study the effect of strategic family counseling in late adolescent couples. The participants composed of ten families (twenty persons) who have teenager in Meuang district in Chachoengsao province who had average point of family conflict highest score ten families. The simple random sampling method was adopted to assign participants into two group: an experimental group and a control group with five families (ten persons) The instruments with were used in this research were the measurement test of family conflict and the strategic family counseling. The intervention was administered for eight sessions. Each session lasted about sixty minutes. The research design was two-factor experimental with repeated measures on one factor. In fact, the study was divided into three phases: the pre-test phase, the post-test phase, and the follow-up phase. The data were analyzed by repeated measure analysis of variance: one between-subject variable and one within-subjects variable and were tested to pair differences among mean by Bonferroni Procedure The results revealed that there was a statistically significant interaction at .05 level between the method and the duration of the experiment. The levels of the conflict management in last adolescent couples in the experimental and the control groups were significantly different at .05 level when measured in the post-test and the follow-up phases. Also the levels of the conflict management in last adolescent couples in the experimental group in the post-test and the follow-up phases were significantly different at .05 level from in the pre-test phase.Downloads
Issue
Section
Articles