การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) สำหรับนัเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จังหวัดฉะเชิงเทรา

Authors

  • แก้วมะณี เลิศสนธิ์
  • สพลณภัทร ทองสอน

Keywords:

คณิตศาสตร์, การศึกษาและการสอน, มัธยมศึกษา, การทำงานกลุ่มในการศึกษา, การเรียนรู้เป็นทีม

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการจัดการเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) และเพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดประตูน้ำท่าไข่ จำนวน 30 คน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ฉะเชิงเทรา เขต 1 กลุ่มตัวอย่างได้มาแบบเจาะจง เนื่องจากมีนักเรียน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว และแบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS for Windows          ผลการวิจัย พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หลังเรียนเรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) นักเรียนมีเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ในระดับดี และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังเรียน 2 สัปดาห์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางหลังเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรมีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการสอนแบบคณิตศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) กับเนื้อหาอื่น และในการเรียนของนักเรียนระดับชั้นอื่น และควรมีการศึกษาด้วยการจัดการเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) กับการสอนวิธีอื่น ๆ          The purposes of this research were to compare mathematics learning achievement of Mathayomsuksa one students, to investigate the students attitude, and to investigate learning retention on one variable linear equation of Mathayomsuksa one students who participated in Student Team Achievement Division (STAD). The sample consisted of 30 students who studied at Mathayomsuksa one in the academic year 2013 at Pratoonamtakai School which is under Chachoengsao Educational Office Area 1. The research instruments were the learning management plans, mathematics learning achievement test, evaluation form for cooperative group working, and retention test. Data were analyzed by descriptive statistical analysis through SPSS for Windows program.          The research indicated that the mathematics learning achievement of Mathayomsuksa one students participated in Student Team Achievement Division was statistically significant different at the 0.5 level, The average mean score of the students’ attitude, as a whole, which was at maximum level, and The mathematics learning achievement after studying and two weeks after studying was not statistically significant different.

Downloads