การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ที่ใช้การโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจมโนทัศน์และความสามารถในการให้เหตุผลอย่างไม่เป็นทางการ

Authors

  • ประภา สมสุข
  • กมลวรรณ กันยาประสิทธิ์
  • ณสรรค์ ผลโภค
  • มนัส บุญประกอบ

Keywords:

ฟิสิกส์, การศึกษาและการสอน, ความคิดรวบยอด, การโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์, การให้เหตุผลอย่างไม่เป็นทางการ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ที่ใช้การโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจมโนทัศน์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ และเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลอย่างไม่เป็นทางการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อศึกษาผลจากการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ที่ใช้การโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์ที่มีต่อความเข้าใจมโนทัศน์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ และความสามารถในการให้เหตุผลอย่างไม่เป็นทางการ โดยรูปแบบในงานวิจัยนี้เรียกว่า 213C ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นนำเข้าสู่ประเด็น 2) ขั้นกำหนดหัวข้อในการโต้แย้ง 3) ขั้นเก็บรวบรวมหลักฐาน 4) ขั้นสร้างการโต้แย้ง และ 5) ขั้นสื่อสารคำอธิบายไปยังผู้อื่น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 2 ห้องเรียน เป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้อง และกลุ่มควบคุม 1 ห้อง เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบทดสอบความเข้าใจมโนทัศน์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ และแบบทดสอบความสามารถในการให้เหตุผลอย่างไม่เป็นทางการ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์ หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยความเข้าใจมโนทัศน์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่และคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการให้เหตุผลอย่างไม่เป็นทางการ สูงกว่าก่อนเรียนและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05          The purposes of this study were 1) to develop the physics instructional model using scientific argumentation to enhance conceptual understanding and informal reasoning ability for upper secondary school students. 2) to study the effects of the physics instructional model using scientific argumentation on conceptual understanding and informal reasoning ability. This instructional model consisted of 5 steps 1) Introduce the issues (I) 2) Identify the point (I) 3) Collect the evidences (C) 4) Construct the argumentation (C) and 5) Communicate the explanation to others (C) which was called 213C model. The research was conducted with two classroom of tenth-grade students. One classroom was serving as an experimental group where as the other was serving as a control group. The research instruments consist of the conceptual understanding test which was thirty multiple choice questions about force and motion, and informal reasoning ability test which was open-ended questions on three socio-scientific issue scenarios. The findings showed that the mean score of conceptual understanding and informal reasoning on post-instruction with scientific argumentation higher than pre-instruction and higher than control group at a .05 level of significance. These results suggest that the 213C model influence on conceptual understanding and informal reasoning.

Downloads