การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่เสริมสร้างทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)

Authors

  • ลัดดา หวังภาษิต

Keywords:

การสื่อสาร, การเรียนรู้, ภาษาอังกฤษ - - การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาพฤติกรรมบ่งชี้ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสารมิตร (ฝ่ายประถม) อีกทั้งพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่เสริมสร้างทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ด้วยการวิจัยและพัฒนา โดยวิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ระยะกล่าวคือ ระยะที่ 1 ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัยต่าง ๆ และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เกี่ยวข้องในด้านการสอนภาษาอังกฤษเพื่อให้ได้องค์ประกอบ ข้อมูลพื้นฐานและกรอบแนวคิดที่สอดคล้องกับสภาพจริง ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้และเครื่องมือประกอบรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และทำการศึกษานำร่องกับนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสารมิตร (ฝ่ายประถม) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 30 คนซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง ระยะที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะการสื่อสารทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์โดยใช้แบบแผนการทดลอง One group Pretest – Posttest Design เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสารมิตร (ฝ่ายประถม) จำนวน 192 คน ใช้เวลาในการทดลอง 16 สัปดาห์ๆ ละ 4 คาบ รวมทั้งสิ้น 64 คาบ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย Dependent t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้             พฤติกรรมบ่งชี้ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสารมิตร (ฝ่ายประถม) แบ่งออกเป็น 4 องค์ประกอบคือ ด้านความเข้าใจ (Understand) ด้วยความถูกต้อง (Correctness) ด้านการประสานสัมพันธ์ (Relation Improving) และด้านมารยาทในการสื่อสาร (Courtesy)                 รูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่เสริมสร้างทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสารมิตร (ฝ่ายประถม) ประกอบด้วย 5 ขั้นคือ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมพร้อม (Readiness) ขั้นที่ 2 ขั้นจัดการข้อมูล (Organization) ขั้นที่ 3 ขั้นตรวจสอบร่วมกัน (Co-Revising) ขั้นที่ 4 ขั้นประเมินผล (Evaluation) ขั้นที่ 5 ขั้นแบ่งปันและเชื่อมความสัมพันธ์ (Sharing & Connection) และพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนของทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างหลังทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างหลังทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01  The purposes of this research were to develop and study the effectiveness of a learning model for enhancing creative communication. The research procedure consisted of three phases as follows; Phase 1: Study the basic data, ideas, theories from literature and interview key informants in order to develop a model enhancing creative communication. Phase 2: Develop the learning model for enhancing creative communication. After that, the model was verified by experts and proven by using the model on the students. Phase 3: Assess the effectiveness of the English learning model by employing an experimental design, one group/pretest-posttest. The experimental group consisted of 192 Grade 6 students enrolled at Srinakharinwirot University Prasarnmit Demonstration Elementary School during the first semester of the 2014 academic year. The students were chosen by purposive sampling. The period of the study lasted 16 weeks for four hours per week for a total of 64 hours. Data analysis and statistical information was calculated including mean, standard deviation, dependent t-test, and content analysis. The results of this study revealed that:             A learning model for enhancing creative communication of Srinakharinwirot University Prasarnmit Demonstration Elementary School students contained five sequential steps; 1) readiness, 2) organization, 3) co-revising, 4) evaluation, and 5) sharing & connection.             For the effectiveness of the English learning model for enhancing creative communication, the average scores of creative communication of the group from the pretest to posttest significantly increased at the .01 level and the English learning archievement of the experimental group was statistically higher at the .01 level.

Downloads