รูปแบบการเรียนการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ผ่านกูเกิ้ลคลาวด์คอมพิวติ้ง เพื่อส่งเสริมทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21
Keywords:
ระบบการเรียนการสอน, คลาวด์คอมพิวติง, เทคโนโลยีสารสนเทศ, การเรียนรู้ร่วมกันAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนแบบปฏิสัมพันธ์ผ่านกูเกิ้ลคลาวด์ คอมพิวติ้ง เพื่อส่งเสริมทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21 และเพื่อประเมินรูปแบบการเรียนแบบปฏิสัมพันธ์ผ่านกูเกิ้ลคลาวด์คอมพิวติ้ง เพื่อส่งเสริมทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้เชี่ยวชาญใช้วิธีเลือกแบบเจาะจงจำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามสำหรับประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนแบบปฏิสัมพันธ์ผ่านกูเกิ้ลคลาวด์คอมพิวติ้ง เพื่อส่งเสริมทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21 สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผลประเมินภาพรวมของรูปแบบการเรียนแบบปฏิสัมพันธ์ผ่านกูเกิ้ลคลาวด์คอมพิวติ้ง เพื่อส่งเสริมทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก (x = 1.52, S.D. = 002) โดยมีผลการประเมินองค์ประกอบดังนี้คือ 1) ความเหมาะสมด้านการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์อยู่ในระดับดีมาก (X = 4.68, S.D. = 0.05) 2) ความเหมาะสมด้านกูเกิ้ลคลาวด์คอมพิวติ้งอยู่ในระดับดีมาก (X = 4.58, S.D. =0.05) 3) ความเหมาะสมการวัดประเมินผลทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในระดับดี (X = 4.50, S.D. =0.03) และ 4) ความเหมาะสมด้านการออกแบบการเรียนการสอนอยู่ในระดับดี (X = 4.30, S.D. = 0.00) แสดงว่ารูปแบบการเรียนแบบปฏิสัมพันธ์ผ่านกูเกิ้ลคลาวด์คอมพิวติ้งมีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอน The purpose of this research study were 1) to design an interactive instructional model via Google Cloud Computing to enhance information and communication technology skills for undergraduate students in 21st Century and 2) to evaluate the interactive instructional model via Google Cloud Computing to enhance information and communication technology skills for undergraduate in 21st Century. The participants in this study consisted of five experts. The research instrument was a questionnaire. The data were analyzed by mean standard deviation. The result of the interactive instructional model via Google Cloud Computing to enhance information and communication technology skills for undergraduated students in 21st century were very good appropriate (X = 4.52, S.D = 002 ). There are four elements in this model. 1) Interractive instructional (X = 4.68, S.D. = 0.05 ), 2) Google cloud computing (X = 4.58, S.D. =0.05) 3) Assessment 0.00), respectively. This model cloud be used to increase learning achievement and efficiency for teaching and learning.Downloads
Issue
Section
Articles