รูปแบบการนิเทศภายในที่มีประสิทธิผลต่อการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก

Authors

  • วรรณี ภิรมย์คำ
  • พนม พงษ์ไพบูลย์

Keywords:

การนิเทศการศึกษา, โรงเรียนขนาดเล็ก - - การบริหาร

Abstract

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการนิเทศภายในที่มีประสิทธิผลต่อการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่มีประสิทธิผลต่อการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก และเพื่อยืนยันรูปแบบการนิเทศภายในที่มีประสิทธิผลต่อการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาเอกสาร ทฤษฎี และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน นำมาร่างเป็นแบบสอบถาม จำนวน 141 ข้อคำถาม 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศภายใน โดยนำแบบสอบถามไปสอบถามกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอง(พ.ศ.2549-2553)จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ที่ได้มาตรฐานคุณภาพระดับดีมาก จำนวน 210 คน และครูผู้ที่ทำหน้าที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาเดียวกัน จำนวน 210 คน รวม 420 คนด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนและกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางของเครจซี และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า กำหนดคำตอบเป็น 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ 3)ยืนยันรูปแบบการนิเทศภายใน โดยการสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน       ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการนิเทศภายในที่มีประสิทธิผลต่อการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ คือ การวางแผนก่อนการนิเทศ มี 6 ตัวบ่งชี้ การปฏิบัติ การนิเทศ มี 7ตัวบ่งชี้ การประเมินและพัฒนา มี 3 ตัวบ่งชี้ และการส่งเสริมการนิเทศ มี 3 ตัวบ่งชี้ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรมีการศึกษารูปแบบการนิเทศภายในที่มีประสิทธิผลต่อการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในขนาดอื่นๆ เพื่อนำผลมาเปรียบเทียบ และหารูปแบบที่เหมาะกับสถานศึกษาทุกขนาด      This study aimed to identify elements of internal supervision effectively affecting administration of small-sized primary schools, to develop a model for internal supervision, and to confirm the effectiveness of the model. This study composed of three phases as follows: 1)reviewing literature and interviewing 15 experts in order to develop a 141-item questionnaire. 2)the model of internal supervision was developed through using the questionnaire among 420 participants from 210 school administrators and teachers in small-sized compulsory schools under the Office of Basic Education, which passed the second educational assessment (2006-2010) at the excellent level by the Office for National Education Standards and Quality Assessment (Public Organization). All participants were selected by the multi-stage stratified random sampling technique and the sample size followed the Table of krejcie and Mogan. The research instrument was the 141-item questionnaire with the 5-level scale with the reliability of 0.99. The data were analyzed by using percentage, average mean,and standard deviation. 3)The focus group discussion was organized among five academic experts to confirm the effectiveness of the model.       The results revealed that the model of internal supervistion effectively affecting administration of small-sized primary schools consists of such four elements as Pre-supervision planning by six indicatior.Supervision mission by seven indicators,Assessment and development by three indicators,and supervision stimulation by three indicators.

Downloads