การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนอนุบาลเอกชนในจังหวัดแพร่

Authors

  • ดวงกมล สวิง
  • พิตร ทองชั้น

Keywords:

โรงเรียนอนุบาล - - การบริหาร - - ไทย - - แพร่, โรงเรียน - - การบริหาร - - ไทย - - แพร่

Abstract

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนเอกชนในจังหวัดแพร่ 2)พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนเอกชนในจังหวัดแพร่ และ 3)ศึกษาความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนอนุบาลเอกชนในจังหวัดแพร่ โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ  1) วิเคราะห์เอกสารและ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนอนุบาลเอกชน เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย 2)พัฒนาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนเอกชน ด้วยเทคนิคเดลฟายจำนวน 3 รอบ จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน 3) ทดสอบความสอดคล้องของรูปแบบโดยใช้การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จากผู้เขี่ยวชาญการบริหารงานวิชาการ จำนวน 8 คน 4) ประเมินความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารงานวิชาการ จำนวน 130 คน สถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทส์       ผลการวิจัย พบว่า      1. องค์ประกอบรูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนอนุบาลเอกชนในจังหวัดแพร่ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก มี 11 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1. องค์ประกอบหลักที่ 1 ขอบข่ายรูปแบบการบริหารงานวิชาการ สำหรับโรงเรียนอนุบาลเอกชน มี 5 องค์ประกอบย่อย คือ 1)ด้านหลักสูตรและการนำหนักสูตรไปใช้ 2)ด้านการจัดการเรียนการสอน 3)ด้านการจัดสื่อการเรียน การสอน 4)ด้านการวัดและประเมินผลงาน และ 5)ด้านการนิเทศการศึกษา 2. องค์ประกอบหลักที่ 2 กระบวนการพัฒนาการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนอนุบาลเอกชน มี 6 องค์ประกอบย่อยคือ 1)การระบุเป้าหมาย 2)การจัดทำแผนกลยุทธ์ 3)การปฏิบัติงานตามแผนกลยุทธ์ 4) การส่งเสริม ควบคุมกำกับ ติดตามและนิเทศ 5) การตรวจสอบและการประเมินผล และ 6)การสะท้อนผล รายงานผลดำเนินงาน และการนำผลการประเมินไปใช้ได้      2. การทดสอบความสอดคล้องของรูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนอนุบาลเอกชนในจังหวัดแพร่ โดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จากผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารงานวิชาการทั้ง 8 คน พบว่า ทุกคนมีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่ารูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนอนุบอลเอกชนมีความเหมาะสม      3. การประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารงานวิชาการ ในจังหวัดแพร่ ทั้ง 130 คน พบว่า รูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนอนุบาลเอกชนมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะด้านด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด      The purposes of the study were as follows:  1) to determine components of instructional administration model for private kindergarten schools in Prare province, 2) to develop the instructional administration model for kindergarten in Pare Province, and 3) to test the applicability of this model. The research methodology consisted of four step : 1) analyze documents concerning the instructional administration model for private kindergarten in order to establish a conceptual frame work, 2) develop the academic administration model for private kindergarten schools with the Delphi technique from 21 experts, 3) test the consensus and feedback from eight experts on kindergarten administrators in Prae province using a group discussion technique, and 4) evaluate opinions of 130 kindergarten administrators. The analysis of the data was accomplished by using percentage, mean, and standard deviation. The median and interquartile ranges were also computed to test each of the agreement postulated in the study.       The results showed that:       1. It was found that there were two major components with 11 sub components of academic Administration for private kindergarten schools in Prare province as follows. The first component is the scope of academic administration, consisting of five sub components: 1) curriculum and application, 2) instructional activites, 3) teaching materials, 4) assessment and evaluation, and 5) supervision. The second component is the development process, consisting of six sub components, 6) setting goals 7) strategy planning, 8) implementing the plan, 9) promoting, monitoring, and supervising, 10) monitoring and evaluation, and 11) reflection, report,and application.     2. Based on the focus group discussion, all eight kindergarten administrators strongly agreed with the academic administration for the kindergarten model.     3. The evaluation of 130 kindergarten administrators and educational experts found that the academic administration for the kindergarten model of high level.

Downloads