แนวทางการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากร มหาวิทยาลัยมหิดล

Authors

  • กมลพร สอนศรี
  • วรรณชลี โนริยา

Keywords:

สถาบันอุดมศึกษา - - บริการส่งเสริมสุขภาพ, การส่งเสริมสุขภาพ, สุขภาพ

Abstract

การวิจัยเรื่องแนวทางการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากร มหาวิทยาลัยมหิดล วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ความรู้ และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้กรอบแนวคิดของเพนเดอร์ (Pender, 1996) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นบุคลากรมหาวิยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จำนวน 400 คน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นและแบบระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุเพื่อทดสอบปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลมีการรับรู้นโนบาย/ โครงการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพของมหาวิทยาลัยมหิดล ความรู้ในการดูแลสุขภาพ และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับมาก สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล พบ ว่า การรับรู้นโยบาย/ โครงการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพของมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นปัจจัยเดียวที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล จากผลการวิจัยข้างต้นจึงนำมาซึ่งข้อเสนอแนะ คือ 1) มหาวิทยาลัยควรมีการขับเลื่อนนโยบายการจัดการการส่งเสริมสุขภาพ โดยการนำมากำหนดเป็นค่านิยมหลักให้บุคลากรตระหนักถึงความสำคัญ 2) รูปแบบของการจัดกิจกรรม/ โครงการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากร ควรมีการจัดกิจกรรมระหว่างวันทำงานเพื่อมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมถึงการเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน มีความสุขในการทำงาน และกำหนดให้เป็นนโยบายของหน่วยงานหรือองค์กรที่ทุกคนต้องปฏิบัติ 3) ควรมีการจัดตั้งศูนย์ส่วนกลางที่ดูแลการส่งเสริมสุขภาพบุคลากรมหาวิทยาลัยที่สามารถสร้างการรับรู้ สร้างองค์ความรู้ เกี่ยวกับกิจกรรม ฟฤติกรรมการออกกำลังกาย นันทนาการ รวมถึงวิธีการจัดการความเครียดที่เกิดขึ้นจากการทำงาน ทั้งนี้สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของงาน The research title “Health Promotion Guidelines for Mahidol University Employees” aimed to 1) study perception, knowledge, and health promotion behaviors of Mahidol employees 2) study factors affected health promotion behavior  of Mahidol University employees by using Pender’s framework (Pender, 1996). The participants in this study were emp;oyees who work at Mahidol University (Salaya campus) (n = 400). Stratified random sampling and systematic random sampling were used to select the participants. A questionnaire was used as an instrument of this research. Data were analyzed by using descriptive statistics (frequency, percentage, mean, and standard deviation), and inferential statistics which is multiple regression, were used to analyze factor affecting health promotion behaviors of Mahidol University employees (Salaya campus).The result showed that the perception on policy/ project related to health promotion of Mahidol employees was overall at a high level. The healthcare khowledge  of Mahidol employees was overall at high level, especially in the aspect of food safety knowledge. In addition, health promotion behavior of Mahidol employees was at a high level as well. As per factor affecting health promotion behavior, it found that the perception on pocily/ project related to health promotion of Mahidol employees was the only one factor that affected health promotion behavior of Mahodol employees. Based on the findings in this study, guidelines were as follows 1) Mahidol University should implement health promotion policy by specifying it at core value of Mahodol University. This will make Mahidol employees concern of their healthcare. 2) Each Faculty should formulate health promotion policy and implement it by arranging health promotion activity during the working day in order to promote the emploees’ participation, good relationship among colleague, and happy workplace. 3) Mahidol University should set up a healthcare center to promote health perception, body of knowledge related to exercise behavior and activities, recreation, as well as manage stress from workplace.

Downloads