ผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5Es) ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูงที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลและมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่องฟังก์ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Keywords:
การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5 อี, คณิตศาสตร์ - - การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), คณิตศาสตร์ - - กิจกรรมการเรียนการสอน, การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ และมดนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชันของนักเรียนชั้นมัธยาศึกษาปีที่ 4 หลังจากได้รับการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขันตอน (5Es) ร่วมกับคำถามระดับสูง กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนดัดดรุณี จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 44 คนซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม โดยใช้เวลาในการทำวิจัยจำนวน 16 คาบ คายละ 50 นาที จำแนกเป็นดำเนินการสอน 14 คาบ และเป็นการทดสอบ 2 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการรเรียนรู้แบบสือบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5Es) ร่วมกับคำถามระดับสูงจำนวน 7 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.791 และแบบทดสอบวันมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชัน มีค่าความเชื่อมั่น 0.842 วิเคราะห์ผลด้วยสถิติ t-test แบบ one sample ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังจากได้รับการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5Es) ร่วมกับคำถามระดับสูง สูงกว่าเกณฑ์ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังจากได้รับการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5Es) ร่วมกับคำถามระดับสูง สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 The purposes of this research were to compare the student’s mathematical reasoning ability and mathematical concept of function of Mathayomsuksa four after using the instructional inquiry model (5Es) together with high-order questions with a 70 percent criterion. The design of research was one-group posttest-only design. The participants of this study were 44 Mathayomsuksa four students in the second semester of the 2014 academic year at Datdarunee School, Chacheongsoa. They were randomly selected by using cluster random sampling. The experiment lasted for 16 periods, which each period is 50 minutes, 14 periods for teaching and 2 periods for posttest. The instruments used in study were, 7 lesson plans, mathematical reasoning ability test with reliability of 0.79 and mathematical concepts of function test with reliability of 0.84. The data were analyzed by using t-test for one sample and content analysis. The findings were as follows: 1. The mathematical reasoning ability of function of the sample group after obtaining instructional inquiry model (5Es) together with high-order questions was statistically higher than 70 percent criterion at the .05 level of significance. 2. The mathematical concepts of function of the sample group after obtaining Instructional inquiry model (5Es) together with high-order question was statistically higher than 70percent criterion at the .05 level of significance.Downloads
Issue
Section
Articles