ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวนที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Authors

  • ชมพูนุท รุ่งสว่าง
  • พรรณทิพา พรหมรักษ์
  • เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร

Keywords:

การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, คณิตศาสตร์ - - การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), คณิตศาสตร์ - - กิจกรรมการเรียนการสอน, การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องการประยุกต์ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบสืบสวนสแบสวนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบสวนสอบสวนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนชลกันยานุกูล อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 230 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 จำนวน 50 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน เรื่อง การประยุกต์ฟังก์ชันตรีโกณมิติ จำนวน 6 แผน ใช้เวลา 12 คาบ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 และ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคริตศาสตร์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.76 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) และการทดสอบที (t-test for one sample) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนร็ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน มีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยบะ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 The purposes of this research were: 1) to compare mathematical problem solving ability after learning from an inquiry instructional model in application of trigonometric function of Mathayomsuksa five students with the criterion of 70%; 2) to compare mathematical reasoning ability after learning from the inquiry instructional model in application of trigonometric function of of Mathayomsuksa five students with the criterion of 70%. The population used for this research was 230 of Mathayomsuksa five students in first semester of the 2014 academic year at Chonkanyanukoon School, Chonburi. The participants used for this research was 50 of Mathayomsuksa 5/7 students. They were randomly selected by using cluster random sampling. The instrument used in this research were: 1) six lesson plans of inquire instructional model in application of trigonometric function for 12 periods; 2) mathematical problem solving ability test with the reliability of 0.86, and 3) mathematical reasoning ability test with the reliability of 0.76. The statistics used for analyzing the collected data were mean, standard deviation, and t-test for one sample. Research results revealed that: 1) Mathematical problem solving ability of of Mathayomsuksa five students after learning from inquiry instructional model was higher than the criterion of 70 % at .05 level of significance. 2) Mathematical reasoning ability of Mathayomsuksa five students after learning from inquiry instructional model was higher than the criterion of 70 % at .05 level of significance.

Downloads