การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน เรื่องการประยุกต์ของฟังก์ชันตรีโกณมิติ
Keywords:
การแก้ปัญหา, การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์.Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการเรียนรู้แบบสืบสวนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 1) การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน 2) สรา้งแบบวัดทักษะการแก้ปัญหาและให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของฟังก์ชั่นตรีโกณมิติและหาคุณภาพเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล และ 3) ทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวนและแบบวัดทักษะการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของฟังกืชั่นตรีโกณมิติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี จำนวน 24 คน ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test for One Sample ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน เรื่องการประยุกต์ของฟังก์ชั่นตรีโกณมิติ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ทักษะการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน เรื่อง การประยุกต์ของฟังก์ชั้นตรีโกณมิติ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The purposes of this research were 1) to compare mathematical problem solving skills of the students have been learning about investigative threshold of 75 percent 2) to compare mathematicalreasoning skill of the students have been learning about investigative threshold of 75 percent. The research procedure consisted of 3 steps: the first, construct lesson plans using students through inquiry learning management; the second, the construction of a mathematical problem solving skills and mathematical reasoning skills test and quality of the research tools; and the third, experiment students through inquiry learning management and mathematical problem-solving skills test and mathematical reasoning skills, application of trigonometric functions. The participants for this research consisted of grade students of Princess Chulabhon's College Chonburi School with 24 students who studied in the second semester of the academic year 2014. The data were analyzed by mean, standard deviation, t-test for One sample. The results were as follows: 1. The mathematical problem solving skills of grade students who learned through inquiry learning management were higher than the 75 percent criterion at .05 level of significance. 2. The mathematical reasoning skills of grade students who learned through inquiry learning management were higher than the 75 percent criterion at .05 level of significance.Downloads
Issue
Section
Articles