อิทธิพลของภาวะผู้นำของผู้บริหารต่อสมรรถนะโรงเรียนของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Authors

  • ธวัชชัย ตั้งอุทัยเรือง

Keywords:

ภาวะผู้นำ, สมรรถนะ, ผู้บริหารโรงเรียน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของภาวะผู้นำของผู้บริหารและสมรรถนะโรงเรียน 2) ศึกษาระดับความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารและสมรรถนพโรงเรียน และ 3) ศึกษาระดับอิทธิของภาวะผู้นำของผู้บริหารต่อสมรรถนะโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้อำนวยการ และครูผู้สอน เครื่องมือที่ใช้เก็บข่อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำและสมรรถนะโรงเรียน โดยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน มีผู้ตอบแบบสอบถาม 391 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เส้นทาง จากการวิจัย พบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารกับสมรรถนะโรงเรียนอยู่ในระดับมาก 2) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารและสมรรถนะโรงเรียนอยู่ในระดับสูง (r = 0.69; p < .01) และ 3) ภาวะผู้นำของผู้บริหารมีอิทธิพลทางบวกต่อสมรรถนะโรงเรียนที่ระดับ β = .80(p < .01) การค้นพบในการวิจัยครั้งนี้คือ หากผู้บริหารสร้างแรงบันดาลใจครูและการกระตุ้นให้ครูใช้ความคิด จะส่งผลต่อสมรรถนะโรงเรียนในด้าน สมรรถนะการจัดการ และสมรรถนะการเปลี่ยนแปลงหรือกระบวนการ The purposes of this research were: 1) to determine administrator’s leadership and school competency 2) to analyze correlation between administrator’s leadership and school competency and 3) to analyze the influence of administrator’s leadership on school competency. Samples were small-sized primary schools under the Office of Basic Education Commission. The respondents comprised of principals and teachers. Instrument used for data collection were questionnaires of leadership and school competency using multi-stage random sampling technique. There were three hundred and nineteen (391) questionnaires received. Statistics used for analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, kurtosis, confirmatory factor analysis and path analysis. The findings revealed that: 1) both administrator’s leadership and school competency were at a high level 2) The correlation between administrator’s leadership and school competency was high (r = 0.69; p < .01) and 3) administrator’s leadership had direct positive effect on school competency (β=.80,p<.01). The implication of the  research finding were that, if administrators use inspiration and intellectual stimulation to motivate teachers there will be an increase in managerial competencies and transformation-based competencies.

Downloads