ยุทธศาสตร์การบริหารการจัดการระบบติดตามของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

Authors

  • เสาวนีย์ เหลืองวงศ์งาม
  • ประสาน ประวัติรุ่งเรือง
  • บัณฑิต ผังนิรันดร์

Keywords:

ระบบค้นหาและติดตาม, กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

Abstract

การวิจันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษายุทธศาสตร์การบริหารการจัดการระบบติดตามของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เจ้าหน้าที่ของสถานศึกษา นักเรียน/นักศึกษาที่กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ที่สามารถชำระหนี้ได้ และนักเรียน/นักศึกษาที่กู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา แต่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ รวมจำนวน 20 คน ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้กลุ่มตัวอย่างเดียวกันมีจำนวน 384 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t – test ค่า One Way ANOVA และค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) โดยนำไปทดลองสอบถาม (try-out) กับกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟา (Alpha Coefficent) ตามวิธีของ Cronbachได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.9079 ผลการวิจัย พบว่า การวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาปัจจัย 3 ด้าน คือ 1) ด้านพฤติกรรมของผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา 2) ด้านความสามารถในการชำระหนี้เงินกู้ของผู้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา และ 3) ด้านหลักการให้กู้ยืมเงินของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พบว่า ทั้ง 3 ปัจจัย มีความสัมพันธ์กับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการระบบติดตามของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา สอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้กู้ยืมเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ปัจจัยด้านความสามารถในการชำระหนี้เงินกู้ของผู้กู้ยืมเงินกองทุนเพื่อการศึกษา และปัจจัยด้านหลักการให้กู้ยืมเงินของกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา มีความสัมพันธ์ต่อยุทธศาสตร์การบริหารจัดการระบบติดตามของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ทั้งในด้านความเหมาะสมของยุทธศาสตร์และความเป็นไปได้ของยุทธศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับผลวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพที่กลุ่มตัวอย่างระบุว่า ยุทธศาสตร์ดังกล่าวมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้                 The research had the objectives to study in a management strategy of tracking system for student loans fund. Qualitative study was using in-depth interview method. The interview was conducted on 20 people who executives of student loans fund, officers of school, students loaned from student loans fund that can repay the debt and who cannot repay the debt. Quantitative study was done the same study group which assessed 384 people. Questionnaire was used as the data collection tool. The statistical analysis was used to perform the frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, One-way ANOVA and Pearson correlation. Questionnaires were tested 30 experimental groups. The Cronbach’s Alpha coefficient was used to measure data reliability at 0.9079. The qualitative study result has found that 3 factors; 1) Behavior of borrower of student loans fund. 2) Ability to repay the debt of borrower of student loans fund. 3) Borrow principles of student loans fund. The finding result is correlated with a management strategy of tracking system for student loans fund. With regards to the quantitative study that factors have correlated to a management strategy of tracking system for student loans fund in the appropriateness of strategy and the feasibility of strategy at the statistical significance level of 0.05. Regarding qualitative study was found the strategy that has the appropriateness and the feasibility.

Downloads