ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19
Keywords:
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ผู้บริหาร, การบริหารงานวิชาการAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา และการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 797 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1.ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธศึกษาเขต 19 โดยรวมและรายด้านอยู่ระดัยมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยดังนี้ ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดีในการนำ ด้านการสร้างบารมี ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา ด้านการคำนึงถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคล และด้านการสร้างแรงบันดาลใจ 2.การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมเขต 19 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านการนิเทศศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา 3.ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริกหารสถานศึกษาโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา (rxy= .36) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจึงควรนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปใช้เป็นสารสนเทศในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น The purposes of research were 1) to study the transformational leadership of school administrator 2) to study the academic affairs administration 3) to study the relationship between transformational leadership and academic affairs administration for schools in secondary educational service area office 19. The variables are the transformational leadership of school administrator and the academic affairs administration. The sample consisted of 797 school administrators and teachers, obtained using the stratified random sampling technique. The rating scale questionnaires were used in data collection. The statistics used in data analyses were mean, standard deviations and Pearson’ s product moment correlation coefficients. The result were as follows: The transformational leadership of school administrator in secondary educational service area office 19 as a whole and individual aspect was at a high level. The aspects with the highest average were good role model charisma, intellectual stimulation, individualized consideration and inspiration.The academic affairs administration in secondary educational service area office 19 as a whole and individual aspect was at a high level. The aspects with the highest average were educational supervision, curriculum development, development of learning process, development of internal quality assurance and education standards.The transformational leadership of school administrator as a whole aspect was positively related to the academic affairs administration for school in secondary educational service area office 19 at the .01 level of significance (rxy=.36). The transformational leadership of school administrators related to the academic affairs administration. Therefore, educational administrations and those involved should use the results of this study as information for developing transformation leadership of educational administrators for benefits of managing education to be more efficient and more effective in the future.Downloads
Issue
Section
Articles