ประสิทธิภาพของวิธีแมนเทล-แฮนส์เซลแบบแบ่งกลุ่มความสามารถของผู้สอบและวิธีอันซานแมนเทล-แฮนส์เซล ในการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบแบบอเนกรูป
Keywords:
ข้อสอบ, วิธีแมนเทล-แฮนส์เซล, วิธีอันซายแมนเทล-แฮนส์เซลAbstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการตรวจพบข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกันแบบอเนกรูประหว่างวิธีแมนเทล-แฮนส์เซลแบบแบ่งกลุ่มความสามารถของผู้สอบ และวิธีอันซายแมนเทล-แฮนส์เซลโดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี จำนวน 1,400 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบวิชาคณิตศาสตร์ ที่มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.23-0.80 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20-0.92 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.90 ผลการวิจัยพบว่า วิธีแมนเทล-แฮนส์เซลแบบแบ่งกลุ่มความสามารถของผู้สอบ และวิธีอันซายแมนเทล-แฮนส์เซล ตรวจพบจำนวนข้อสอบทำหน้าที่ต่างกันได้ถูกต้อง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยวิธีอันซายแมนเทล-แฮนส์เซล มีประสิทธิภาพในการตรวจพบข้อสอบทำหน้าที่ต่างกันแบบอเนกรูปได้ดีกว่าวิธีแมนเทล-แฮนส์เซลแบบแบ่งกลุ่มความสามารถของผู้สอบ The purpose of this research was to compare the result in detecting the non-uniform differential item functioning (DIF) test items between variation of the Mantel-Haenszel(VMH) and unsigned Mantel-Haenszel(UMH) procedures with empirical data. The sample consisted of 1,400 Mattayomsuksa 1 student in school under Kanchanaburi Education Service Area Office, academic year 2010, selected by stratified random sampling. The instrument was a mathematics achievement test with difficulty of 0.23-0.81,discrimination of 0.20-0.92 and reliability of 0.90. The results revealed that both procedures, VMH and UMH, detected different number of non-uniform DIF, with a statistical significance at .01 level. The UMH procedure was found to be more powerful than the VMH in detecting non-uniform DIF.Downloads
Issue
Section
Articles