การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา

Authors

  • นิยม กิมานุวัฒน์
  • วิชิต สุรัตน์เรืองชัย
  • สุนทร บำเรอราช

Keywords:

การสอน, ความคิดและการคิด, นักเรียนมัธยมศึกษา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการิดเชิงระบบสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน และเปรียบเทียบกระบวนการคิดเชิงระบบก่อนและหลังใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 42 จำนวน 33 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบประเมินพฤติกรรมกระบวนการคิดเชิงระบบ 4) แบบวัดกระบวนการคิดเชิงระบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เกณฑ์ประสิทธิภาพ และการทดสอบค่า (t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1) ได้รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ที่มี 4 องค์ประกอบคือ 1) ขั้นตอนการจัดกิจกรรม (Syntax) นำเสนอเป็น 6 ขั้น (phase) ประกอบด้วยขั้นที่ 1 นำเสนอสถานการณ์ ขั้นที่ 2 พัฒนาแนวทางการคิด ขั้นที่ 3 พิจารณาปัญหา ขั้นที่ 4 สนทนาแลกเปลี่ยน ขั้นที่ 5 เรียนรู้ผลงานกลุ่ม ขั้นที่ 6 สรุปร่วมกัน 2) ระบบทางสังคม (Social System) 3) หลักการตอบสนอง (Principles of Reaction) และ 4) ระบบที่นำมาสนับสนุน (Support System) 2) รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษามีความสอดคล้องและความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและมีประสิทธิภาพ 81.15/85.95 3) กระบวนการคิดเชิงระบบของนักเรียน หลังใช้รูปแบบการสอนสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 The purpose of this research was to develop an instructional model to enhance system thinking process foe secondary school students. The research also aimed to evaluate the efficiency of an instructional model and to compare the system thinking process of the students before and after participation through. The participations of this experimental research were 33 students for mathayomsuksa 1 of Thairatvitaya 42 school by cluster sampling. The research instruments consisted of: 1) The model instructional to enhance system thinking process. 2) Lesson plans. 3) The behavior of system thinking process measurement forms. 4) The system thinking process measurement. The statistics used for data analysis were means, standard deviation, trend of efficiency and t-test. The finding of this research were as follows : 1) The instructional model to enhance system thinking process for secondary school students consisted of four components : 1) Syntax which includes of six phases: 1 “Presentation of problem” 2 “Development of thinking” 3 “Problems analysis” 4 “Group sharing” 5 “Group learning” 6 “Summary” 2) Social System. 3) Principles of Reaction and 4) Support System. 2) The instructional model to enhance system thinking process for secondary school students had item objective congruence and efficiency of exhibition at 81.15/85.95 3) The students system thinking process in experimental group after using instructional model of enhance system thinking process was significantly higher than before at .05 level of significant.

Downloads