ความสุขของบุคลากรสายสนับสนุน: กรณีศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
Keywords:
บุคลากรทางการศึกษา, คุณภาพชีวิตการทำงาน, ความพอใจในการทำงาน, ความผูกพันต่อองค์การAbstract
การวิจัยนี้มีจุดหมายเพื่อศึกษาความสุขของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรสายสนับสนุนโดยเจาะจงเลือกศึกษาเฉพาะกรณี คณะศึกษาศาสตร์ จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสรา้งขึ้น ได้แก่ 1) สถานภาพทั่วไป 2) แบบสอบถามต้นทุนจิตวิทยาเชิงบวก 3) แบบสอบถามสมดุลในชีวิตการทำงาน 4) แบบสอบถามความผูกพันต่อองค์การ 5) แบบสอบถามการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ และ 6) แบบสอบถามความสุข วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ แบบเป็นขั้นตอน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1) บุคลากรสายสนับสนุน มีความสุขโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) บุคลากรสายสนับสนุน กลุ่มที่มีต้นทุนจิตวิทยาเชิงบวกสูง จะมีความสุขมากกว่า กลุ่มที่มีต้นทุนจิตวิทยาเชิงบวกต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) บุคลากรสายสนับสนุน กลุ่มที่มีการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การสูง จะมีความสุขมากกว่ากลุ่มที่มีการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) บุคลากรสายสนับสนุน กลุ่มที่มีความสมดุลในชีวิตและงานสูง จะมีความสุขมากกว่ากลุ่มที่มีความสมดุลในชีวิตและงานต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 5) ตัวพยากรณ์ที่ดีและสามารถพยากรณ์ความสุขของบุคลากรสายสนับสนุน คือต้นทุนจิตวิทยาเชิงบวกกเานความมั่นใจในความสามารถตนเอง สมดุลในชีวิตและการทำงานด้านการทำงานและสังคม ความผูกพันในองค์การด้านบรรทัดฐาน และ ประสบการณ์ทำงานมากกว่า 10 ปี โดยพยากรณ์ความสุขได้ร้อยละ 83.10 The purpose of this this research was study the happiness of staff personnel of Burapha University. The research sample were 32 staffs personnel in Faculty of Educational. The instruments used for data collection were 6 questionnaires 1) bio-social characteristic check list, 2) Positive Psychological capital questionnaire, 3) Work life balance questionnaire, 4) Organization commitment questionnaire, 5) Perceived organizational justice questionnaire, and 6) Happiness questionnaire. Data was analyzed by independent t-test, One way ANOVA and Stepwise multiple regression. The results revealed that 1) the subjects had medium level of happiness, 2) the subjects who respondents positive psychological capital highly related to happiness (p<.05) 3) the subjects who respondents perceived organizational justice highly related to happiness (p<.05) 4) the subjects who respondents work life balance highly related to happiness (p<.05) and 5) The results showed that positive psychological capital (confidence domain), work life balance (work-social domain), organization commitment (normative domain), and 10 years of work experience were more powerful predictors of happiness of staff personnel at 83.10%.Downloads
Issue
Section
Articles