ประสิทธิภาพของวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบจำกัดและวิธีถดถอยโลจิสติกในการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อความเอกรูป
Keywords:
การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก, การวิเคราะห์ตัวประกอบ, การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบแบบเอกรูปAbstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจการตรวจสอบ และความสามารถในการควบคุมอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ในการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบเอกรูประหว่างวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบจำกัด (RFA) กับวธีลดถอยโลจิสติก (LR) โดยศึกษาจากข้อมูลที่จำลองขึ้นภายใต้เงื่อนไข 32 เงื่อนไข คือ อัตราส่วนระหว่างกลุ่มอ้างอิงกับกลุ่มเปรียบเทียบ 4 อัตราส่วน (1:1, 0.9:1, 0.75:1, 0.5:1) ค่าความยากของข้อสอบ 2 ระดับ (ปานกลาง สูง) ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ 2 ระดับ (ปานกลาง สูง) และขนาดการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ 2 ขนาด (มาก น้อย) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 3 ระดับ ได้แก่ .10, .05และ .01 ผลการวิจัยพบว่าวิธี RFA มีอำนาจการตรวจสอบสูงกว่า วิธี LR ในเกือบทุกกรณี ทั้งสองวิธีสามารถควบคุมอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ได้ดี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติเป็น .05 และ .01 เมื่อข้อสอบมีค่าความยากอยู่ในระดับปานกลาง และในภาพรวมวิธี RFA มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบแบบเอกรูปได้ดีกว่าวิธี LR โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อค่าความยากปานกลาง ค่าอำนาจจำแนกทั้ง 2 ระดับ และขนาดการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบทั้ง 2 ขนาด The purpose of this research was to study power of the test and type I error rate controlling ability of restricted factor analysis (RFA) and logistic regression (LR) in detecting uniform differential item functioning (DIF). The data used in this study were simulated in 32 conditions namely 4 ratios between the reference and the focal group (1:1, 0.9:1, 0.75:1, 0.5:1), 2 levels of difficulty (moderate and high), 2 levels of discrimination (moderate and high) and 2 sizes of DIF (Large and small), with significance levels in moderate difficulty. In perspective, the RFA shows more efficiency in detecting uniform DIF than LR especially at moderate difficulty, both levels of discrimination and both sizes of DIF.Downloads
Issue
Section
Articles