การพัฒนารูปแบบที่มีประสิทธิภาพของการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Keywords:
การบริหารองค์การ, การพัฒนาองค์การAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบที่มีประสิทธิภาพของการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติในสำนักงานเขพพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้อำนวยการสำนักงานเขพพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำรักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานใน 5 ภูฒิภาค จำนวน 183 คน จาก 183 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลค่าคะแนนเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบที่มีประสิทธิภาพของการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติในสำนักงานเขพพื้นที่การศึกษาประถม ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบที่มีประสิทธิภาพของการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติในสำนักงานเขพพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 7 ด้าน คือ 1) ด้านกลยุทธ์ ได้แก่ การนำกลยุทธ์ไปจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการประจำปี 2) ด้านโครงสร้าง ได้แก่ การจัดโครงสร้างองค์การที่เน้นการทำงานเป็นทีม 3) ด้านระบบ ได้แก่ การพัฒนาระบบการนิเทศ กำกับ ติดตาม การนำกลุยุทธ์ ไปปฏิบัติ 4) ด้านรูปแบบการบริหาร ได้แก่ ผู้บริหารใช้หลักการการบริหารการจัดการที่ดี เช่น หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่าในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ 5) ด้านบุคลากร ได้แก่ บุคลากรมีการประชุม ปรึกษาหารือ เมื่อเกิดปัญหาและแนวทางในการแก้ผัญหาร่วมกันในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ 6) ด้านทักษะได้แก่ ผู้บริหารมีทักษะการสื่อสารที่ดีในการประชุมชี้แจงการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และ 7) ด้านค่านิยมร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้บุคคลากรได้แสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยยยนวัฒนธรรมการทำงานใหม่ The purpose of the study was to develop the efficiency strategic implementation model in Primary Education Service Area Office under Office of the Basic Education Commission (OBEC). The selected sample was used to construct the model included 183 Primary Education Service Area directors from 5 regions under Office of the Basic Education Commission by using a questionnaire as the tool for data collection to analyze the main score and standard deviation to check the possibility of the efficiency strategic implementation model in Primary Education Service Area Office. The result of the study revealed that the efficiency strategic implementation model in Primary Education Service Area Office were consisted of seven components as follows : 1) Strategy focused on developing yearly action plan. 2) Structure focused on teamwork. 3) System focused on developing the supervision and strategy monitoring system. 4) Style focused on good governance management. 5) Staff focused on solving the problem together with cooperation and coordination. 6) Skill focused on good and effective communication of administrators. 7) Shared valued focused on respect to other opinion and good participation.Downloads
Issue
Section
Articles