การศึกษาชั้นเรียนในแง่มุมการคิดทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียน

Authors

  • วาสุกรี แสงป้อม

Keywords:

คณิตศาสตร์, การจัดการชั้นเรียน, การเรียนรู้ร่วมกัน, การศึกษา

Abstract

การศึกษาชั้นเรียน เป็นนวัตกรรมในการพัฒนาวิชาชีพครูแนวทางหนึ่งที่กระทำโดยครูในโรงเรียนเองจากบริบทการทำงานจริงผ่านการทำงานกลุ่มแบบร่วมมือกันอย่างเป็นระบบและติ่เนื่อง ซึ่งมีลักษณะเป็นกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละบริบท และมีเป้าหมายหลักเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาการคิดทางคณิตศาสตร์และการเรียนรู้ของผู้เรียน กระบวนการศึกษาชั้นเรียนมีขั้นตอนสำคัญ 3 ขั้นที่มีลักษณะเป็นวงจร ได้แก่ 1) การวางแผนการจัดการเรียนร็ร่วมกัน (Plan) จากการนำแนวคิดของผู้เรียนในชั่วโมงและชั้นเรียนก่อนหน้านี้มาใช้ในการวางแผน 2) การสังเกตการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน (Do) ซึ่งมีเป้าหมายสังเกตการคิดทางคณิตศาสตร์จากวิธีการแก้ปัญหาของผู้เรียน และ 3) การสะท้อนผลบทเรียนร่วมกัน (See) จากการเฝ้าดูผูเรียนแก้ปัญหาแต่ละขั้นตอนอย่างครบถ้วนในการดำเนินแต่ละครั้งLesson study is an innovation in teacher professional development conducted by teacher in the school from the context of work through working in group systematically and continuously. This is a cultural event that is different in each context and aims to improve teaching and learning focusing on the development of mathematical thinking and learning of the students. For the process of lesson study, there are three important steps as follows: 1) collaboratively design research lessons (plan) from the concept of students in a class hour earlier to use and planning, 2) collaboratively observing the research lessons (do) which aims to observe the mathematical thinking from the solution of students, and 3) collaboratively reflection (see) from watching the students solve the problem step by step. The implementation process of the class to hold three step fully into operation each time.

Downloads