การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Authors

  • สุนทรีย์ ปาลวัฒน์ชัย
  • จันทร์พร พรหมมาศ
  • สุมาลี กาญจนชาตรี.

Keywords:

คณิตศาสตร์ - - การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), ทฤษฎีสรรคนิยม, การเรียนรู้

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และเพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือระยะที่ 1การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 การเตรียมการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัมนาขึ้น โดยทดลองสอนเบื้องต้น 2 ครั้ง ๆ ล ะ1 ห้องเรียน กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนยืวิจัยและพัฒนาการศึกษา ระยะที่ 3 การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนยืวิจัยและพัฒนาการศึกษา จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดการใช้มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ และแบบการวัดให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยหลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นการจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4 ขั้นคือ 1) ข้นความขัดแย้งทางความคิด 2) ขั้นเรียนรู้จากการปฏิบัติ 3) ขั้นสรุปความรู้ด้วยตนเอง และ4) ขั้นตรวจสอบความรู้ เมื่อประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น พบว่านักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยการใช้มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ และคะแนนเฉลี่ยการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ สูงขึ้นว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05The purposes of this study were to develop a learning model based on the constructivist theory to enhance mathematical competency of Mathayomsuksa one students, and to evaluate the efficiency of the model. The research procedure was divided into three phases. Phase one was the development of the learning model on the study, analysis, and synthesis of related literature. Phase two was the quality verification of the developed learning model based on preliminary two try-out; each of which with a class of Mathayomsuksa two students at Kasetsart University Laboratory School, Center for Research and Educational Development. Phase three was the evaluation of the model by a field try-out. The participants were 38 Grade seven students at Kasetsart University Laboratory School, Center for Research and Educational Development. The research instruments comprised of learning management plans, a conceptual mathematics test, and a reasoning mathematic test. The data were statistically analyzed using mean, standard deviation, and t-test.  The research findings were as follows: the model consisted of the principle, the objectives, the learning management, and the evaluation based on the constructivist evaluation theory. The process of learning consisted of four steps as follows: 1) the cognitive conflict 2) learning steps obtained from a hands-on lesson 3) a summary, and 4) a knowledge check. The research instruments comprised of learning management plans, a conceptual mathematics test, and a reasoning mathematic test. The finding showed mean scores of conceptual mathematics and reasoning mathematic on post-instruction which significantly higher than those of the pre-instruction at the .05 leve.

Downloads