ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีบริบทร่วมกับกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 7E ที่มีต่อสมรรถนะการใช้ประจักษ์พยานทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Authors

  • อรพรรณ ธนะขว้าง
  • อัญชลี สิริกุลขจร
  • สกนธ์ชัย ชะนูนันท์.

Keywords:

การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, วิทยาศาสตร์ - - กิจกรรมการเรียนการสอน, วิทยาศาสตร์ - - การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการใช้ประจักษ์พยานทางวิทยาศาสตร์ เรื่องมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีบริบทร่วมกับกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 7E 2) เพื่อศึกษาสมรรถนะการใช้ประจักษ์พยานทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีบริบทร่วมกับกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 7E กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 36 คน ที่ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีบริบทร่วมกับกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 7E เรื่อง มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม 2) แบบทดสอบวัดสมรรถนะการใช้ประจักษ์พยานทางวิทยาศาสตร์ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมสมรรถนะการใช้ประจักษ์พยานทางวิทยาศาสตร์ และ 4) ผลงานของนักเรียน สถิติที่ใช้ทดสอบ ได้แก่ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สิติทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีบริบทร่วมกับกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 7E มีสมรรถนะการใช้ประจักษ์พยานทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนรู้สูงกว่าการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการใช้ประจักษ์พยานทางวิทยาศาสตร์ รายด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 การรู้ว่าจะต้องใช้ประจักษ์พยานใด ด้านที่ 2 การสร้างข้อสรุปที่สมเหตุสมผลบนพื้นฐานของประจักษ์พยาน ด้านที่ 3 การสื่อสารข้อสรุป และด้านที่ 4 การแสดงออกว่ามีความเขาใจในแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ พบว่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีพัฒนาการของสมรรถนะการใช้ประจักษ์พยานทางวิทยาศาสตร์ระหว่างการจัดการเรียนรู้อย่างมีบริบทร่วมกับกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 7E กล่าวโดยสรุปการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีบริบทร่วมกับกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 7E นั้น มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความเข้าใจในการเลือกใช้พื้นฐานที่ได้จากการค้นคว้าเพื่อสนับสนุนข้อสรุป ส่งเสริมให้ให้นักเรียนมีความสามารถในการสร้างข้อสรุปที่สมเหตุสมผล โดยมีหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาสนับสนุนข้อสรุปออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจในรูปแบบต่าง ๆ ได้ และส่งเสริมให้นักเรียนสามารถนำหลักการ แนวคิด ที่ได้เรียนไปปรับประยุกต์ใช้ได้อย่างสมบูรณ์ในสถานการณ์หรือบริบทต่าง ๆ ได้ จึงนำไปสู่การพัฒนาสมรรถนะการใช้ประจักษ์พยานทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 ด้านThe purposes of research were 1) to compare Mathayomsuksa three students' competencee in using scientific evidence on the topic humans and environment before an after implementing the developed learning activities using the context-based learning integrated with the 7E inquiry process, and 2) to study Mathayomsuksa three students' competency of using scientific evidence in the topic of humans and environment during learning with the developed learning activities. The subjects were 36 Mattayomsuksa three student, registered in the first semeter ofthe academic year of 2015. They were selected by using the simple purposive sampling. The research tools consisted of 1) the lesson plans for learning activities using the context-based learning integrated with the 7E inquiry process in the topic of humans and environment, 2) the developed scientific evidence using competency test, 3) the scientific evidence using competency behavior observation form, and 4) worksheets. The data were analyzed by mean, standard deviation, t-test, and content analysis. The results showed that 1) the student's scientific evidence using competency posttest score was higher than that of the pretest one with significant level of 0.05. When taking a closer look at in the details of scientific evidence using competency, it was found that all the aspects of scientific evidence using competency: a) knowing how to choose evidence, b) making reasonable conclusion based on the evidence, c) communicating the conclusion, and d), expressing their understanding of scientific concepts, after learning was higher than that of the before one with significant level of 0.05. And 2) the students have an improvement in scientific evidence using competency during learning with the developed learning activities using context-based learning integrated with 7E inquiry process. In summary, the developed learning activities using context-based learning integrated with 7E inquiry process helped students acquired their higher skills in the understanding of how to use information or evidence obtained from research data collection to support the conclusions on the studied issues, encourage students to have the ability in generating a reasonable conclusion from scientific information or evidence. In addition, students could also give a reason to support their conclusions by communicating and discussing to others, creating a different way in making people understood. The developed learning activities also encouraged students to take the concepts from the class to apply or completely use in a different context. Finally, students were able develop allof four aspects in scientific evidence using competency.

Downloads