ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวคิด STEM Education เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Authors

  • ดารารัตน์ ชัยพิลา
  • สกนธ์ชัย ชะนูนันท์

Keywords:

การสอนแบบโครงงาน, กิจกรรมการเรียนการสอน, วิทยาศาสตร์ - - การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), วิทยาศาสตร์ - - กิจกรรมการเรียนการสอน, สะเต็มศึกษา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ระหว่างเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนแบบโครงงานตามแนวคิด STEM Education 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หลังเรียนของของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนแบบโครงงานตามแนวคิด STEM Education กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนติ้ววิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 40 จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวคิด STEM Education เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี 2) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ 3) แบบประเมินชิ้นงานและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานการวิจัย t-testผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ระหว่างเรียนร้อยละ 88.35 ซึ่งอยู่ในระดับดี เนื่องจากนักเรียนได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีกระบวนการทำงานเป็นระบบขั้นตอนด้วยการทำโครงงาน ได้ใช้ความรู้จากทั้ง 4 ได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโลโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ มาใช้ในการแก้ปัญหาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้เมื่อพิจารณาแยกแต่ละแผนกการจัดการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นตามลำดับ และนักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากนักเรียนสามารถนำความรู้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวคิด STEM Education มาประยุกต์ใช้ได้ดีและยังสามารถเสนอแนวทางการแก้ปัญหาที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป อีกทั้งยังได้ใช้ความรู้ของแต่ละคนอย่างเต็มความสามารถอีกด้วยThe purposes of this research were 1) to srudy Mathayomsuksa two studwnts' creative problem solving ability in science during studying by the project-based learning activities based on STEM Education, and 2) to compare Mathayomsuksa II students' creative problem solving ability in science after using the developed learning activities based on STEM Education with the determined criteria of  70 percentage of the total score. The participants of the study were 28 Mathayomsuksa II students registered in the first semester of the academic year 2015 at Tiuwittayakom school,in the Secondary Education Service Area office 40. The research instruments consisted of 1) the developed lesson plans for Project-based learning activities based on STEM Education on the topic of chemical reaction 2) the creative problem solving ability in science test, and 3) the students' work evaluation from. The statistics used to analyze the data consisted of mean, standard deviation, and t-test.As a result, the students' creative problem solving ability in science during studying with the developed project-based learning activities is 88.35% of the total score which is indicated at good level because when they learned with the developed project-based learning activities, they integtatively used all the knowledge from the four subjects including dcience, technology, engineering and mathematics to solve problem from the situation in daily life, resulting in better understanding about the relationship among all the knowledge. In addition, it was also found that students have an improvement in creative problem solving ability along with the learning activities from the first to the last activities respectively. The students' creative problem solving ability in science posttest score is statistically significant higher than 70% of the total score at the .05 level because students can use knowledge in running their project through the learning activities based on STEM Education which provided them with opportunity in proposing the variety of different ways to solve the problem. Plus. each student also had chances to use their knowledge at his/ her full capacity.

Downloads