การใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูปฏิบัติการสอนโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6
Keywords:
ผู้บริหารโรงเรียน, การจูงใจในการทำงาน, ครูAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูปฏิบัติการสอนโรงเรียนมัธยมศึกษา และศึกษาการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการ ปฏิบัติการสอนโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรปรากร จำนวน 337 คน เครื่องมือเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .25 - .85 และมีความเชื่อมั่น .97 และตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูปฏิบัติการสอนมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .28 - .76และมีความความเชื่อมั่น .94 สถิตถที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน (stepwise multiple regression) ผลการวิจัยพบว่า 1.การใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ สังกัดสำงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงอันดับจากมากไปน้อย ได้แก่ อำนาจความเชี่ยวชาญ อำนาจการมีข่าวสารข้อมูล อำนาจการติดต่อเชื่อมโยง อำนาจอ้างอิงอ้างอิง อำนาจตามกฎหมาย อำนาจการให้รางวัล และอำนาจบังคับ 2.แรงจูงใจในการปฎิบัติงานของครูปฎิบัติการสอนโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 โดยรวามและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงอันดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความต้องการความสัมพันธ์ ด้านความต้องการจริญก้าวหน้า และด้านความต้องการดำรงชีวิต 3.การใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฎิบัติงานของครูปฎิบัติการสอนโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 มี 5 ด้าน คือ อำนาจการให้รางวัล อำนาจการมีข่าวสารข้อมูล อำนาจตามกฎหมาย อำนาจความเชี่ยวชาญ และอำนาจบังคับ โดยการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนทั้ง 5 ด้าน สามารถพยากรณ์แรงจูงใจในการปฎิบัติงานของครูปฎิบัติการสอนโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมได้ร้อยละ 59.60 The purpose of this research was to study the orientation of school administrators’ power affecting job motivation of teachers in secondary school, Samutprakan province under the office of secondary educational service area office 6. The participants were 337 teachers in secondary school, Samutparkan province under the office of secondary educational service area office 6. The data were collected by 5 point rating scale questionnaire divided in two parts as follows; part 1 was the questionnaire about the orientation of school administartors’ power. The item discrimination was between .25 - .85 and the reliability was .97. and part 2 was the questionnaire about job motivation of teachers. The item discrimination was between .28 - .76 and the reliability was .94. The data were analyzed by frequency distributions, percentage, maen, standard deviation and Stepwise multiple regression. The finding revealed as follows: 1.The orientation of school administartors’ power in secondary school, Samutprakan province under theoffice of secondary educational service area office 6 were generally and individually at high level. The mean was descending from high to low as the follows: expert power, information power, connection power, referent power, legitimate power, reward power, coercive power. 2.The job motivation if teachers in secondary school in Samutprakan province under the office of secondary educational service area office 6. In all aspect were rated high level descannding from high to low as follows: relation need, growth needs, existence needs. 3.The orientation of school administartors’ power affecting to job motivation of teachers in secondary school, Samutprakan province under the office of secondary educational service area office 6 has 5 aspects as follows: reward power, information power, legitimate power, expert power, coercive power which can be forecasted job motivation of teachers at 59.60 regression equations of the raw score the regression equations of point in the form of standard score.Downloads
Issue
Section
Articles