การบริหารโรงเรียนทางเลือกตามแนวคิดการจัดการภูมิวัฒนธรรมและ การพัฒนาที่ยั่งยืน

Authors

  • จรีพร นาคสัมฤทธิ์
  • ยุทธชัย เฉลิมชัย
  • สิงหา แซ่ตึ้ง

Keywords:

การบริหารโรงเรียนทางเลือก, การจัดการภูมิวัฒนธรรม, การพัฒนาที่ยั่งยืน

Abstract

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนทางเลือก ตามแนวคิดการจัดการภูมิวัฒนธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) ศึกษาแนวทางการบริหารโรงเรียนทางเลือกตามแนวคิด การจัดการภูมิวัฒนธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยายและพรรณนา เก็บข้อมูลแบบสอบถาม จากผู้บริหาร 19 คน ครู 20 คน และจากการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้ที่เกี่ยวข้อง 300 คน วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามด้วยค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นด้วย PNI modified และวิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า การบริหารของโรงเรียนทางเลือกมีค่าเฉลี่ยรวมสภาพที่พึงประสงค์ (X = 4.70) สูงกว่า ค่าเฉลี่ยรวมสภาพปัจจุบันทั้งหมด (X =3.99) สภาพปัจจุบันได้แก่ การวางแผนบริหารจัดการที่ดี การจัดสภาพภูมิ ทัศน์วัฒนธรรมของโรงเรียน การวางแผนจัดการเรียนรู้สัมมาชีพ การพัฒนาศักยภาพผู้เรียน การวางแผนวิชาการ สอดคล้องสภาพภูมิวัฒนธรรมของชุมชน ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ได้แก่ การวางแผนบริหารจัดการที่ดี การวางแผน จัดการใช้สอยพื้นที่ทางวัฒนธรรมเป็นแหล่งเรียนรู้สัมพันธ์กับหลักสูตรท้องถิ่น การวางแผนจัดการเรียนรู้สัมมาชีพ การพัฒนาศักยภาพผู้เรียน วางแผนวิชาการสอดคล้องกับสภาพภูมิวัฒนธรรมของชุมชนและพื้นที่ตั้งโรงเรียน จัดการ เรียนการสอนวัฒนธรรมสอดคล้องกิจกรรมของชุมชน ใช้คติความเชื่อความคิดของชุมชนมาสืบทอด แนวทางการ บริหารโรงเรียนทางเลือกตามแนวคิดการจัดการภูมิวัฒนธรรมและแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย 1) การ จัดองค์กรเน้นภูมิวัฒนธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) การวางแผนการจัดการภูมิวัฒนธรรมด้วยการจัดภูมิทัศน์วัฒนธรรมชาติพันธุ์แสดงอัตลักษณ์ เรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและชุมชน ผสานหลักสูตรวัฒนธรรม การเรียนการ สอนคุณค่าจากคติความเชื่อและประเพณีวัฒนธรรมตามกิจกรรมของชุมชน จัดสภาพเอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สอยพื้นที่ ทางภูมิวัฒนธรรม ใช้ทุนวัฒนธรรมและทุนปัจจัย และการวางแผนการพัฒนาที่ยั่งยืนผสานหลักสูตรอนุรักษ์ความหลาก หลายทางชีวภาพ จัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน จัดหาทุนส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ผู้เรียนได้ใช้ศักยภาพตน สร้าง ความมั่นคงปลอดภัยทางสังคมอย่างเท่าเทียมกัน เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงจากทักษะอาชีพสัมมาชีพให้อยู่รอดในท้อง ถิ่นได้ 3) การดำเนินการตามธรรมนูญและข้อตกลงร่วมกันของคนในชุมชนและโรงเรียนจัดสภาพภูมิทัศน์วัฒนธรรม เพื่อการเรียนการสอน จัดการเรียนการสอนตามวัตถุประสงค์ ทบทวนปรับปรุงการสอน อบรมครูให้รู้และเข้าใจการ จัดการภูมิวัฒนธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ระดมทุนทางสังคมและทุนทรัพย์จัดการศึกษาตามสภาพภูมิวัฒนธรรม 4)การประเมินผล จากการกำกับติดตามผลการดำเนินการจัดการเรียนการสอนด้วยภูมิวัฒนธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนให้บรรลุผล และการกำกับติดตามผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนและชุมชน

Downloads