สภาพ ปัญหา และแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ สู่ประชาคมอาเซียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7

Authors

  • ทิศากร คำประโคน
  • เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
  • ภารดี อนันต์นาว

Keywords:

สภาพ ปัญหา, แนวทางพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพ ปัญหา และแนวทางพัฒนาการจัดการเรียน การสอนภาษาอังกฤษสู่ประชาคมอาเซียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 7 จำแนกตามสถานะภาพ ขนาดของโรงเรียน และประเภทโรงเรียน พร้อมทั้งศึกษาแนวทางพัฒนาการ จัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสู่ประชาคมอาเซียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ฝ่ายบริหาร และครูผู้สอน จำนวน 104 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (X) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วย Scheffe’s test และ การวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษสู่ประชาคมอาเซียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7ทั้งสภาพการจัดการเรียนการสอนและปัญหา การจัดการเรียนการสอนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2. เปรียบเทียบปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษสู่ประชาคมอาเซียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 โดยรวมจำแนกตาม สถานะภาพ ขนาดของ โรงเรียน และประเภทโรงเรียน พบว่า ไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ปรากฏว่า `ขนาดของโรงเรียน ใน ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. แนวทางพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสู่ประชาคมอาเซียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7ดังนี้ 1) ควรกำหนดนโยบายและโครงสร้างที่ชัดเจน ในการพัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่อง2) ควรมีการวัดและประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง 3) ควร ส่งเสริมหน่วยงานและองค์กรต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้และส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนการ สอน และจัดสรรงบประมาณสนับสนุนในการจัดการเรียนการสอน เช่น สื่อการสอน ห้องปฏิบัติการ และครูชาวต่าง ชาติ 4) ควรสนับสนุนครูให้พัฒนาตนเองตามความถนัด ความสามารถและความต้องการโดยจัดตั้งกองทุนต่างๆ หรือ ทุนการศึกษา

Downloads