การพัฒนารูปแบบการจัดทำคลังความรู้ที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร: กรณีศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–3 หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
Keywords:
คลังความรู้ ความปลอดภัยในชีวิต, กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา.Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดทำคลังความรู้ที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร และประเมินความเหมาะของรูปแบบคลังความรู้ที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ ตามความมุ่งหมายของการวิจัย ดังนี้ระยะที่ 1 การศึกษารูปแบบและแนวทางการจัดทำคลังความรู้ที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรที่เหมาะสมกับประเทศไทย ในระยะนี้ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการศึกษาค้นคว้าจาก เอการ ตำรา งานวิจัย และวิเคราะห์เทียบเคียงกับประเทศสหรัฐอเมริกา โดยนำข้อมูลที่ได้ไปสอบถามความคิดเห็นกับ ครูผู้สอน อาจารย์ที่สอนในมหาวิทยาลัยและศึกษานิเทศก์ระยะที่ 2 การสร้างและการจัดทำคลังความรู้และคลังความรู้ผ่านเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในระยะนี้ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านเว็บไซต์เพื่อนำข้อมูลมาออกแบบและสร้างเว็บไซต์ระยะที่ 3 การประเมินรูปแบบการจัดทำคลังความรู้และคลังความรู้ผ่านเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในระยะนี้ผู้วิจัยได้นำเว็บไซต์ที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขจากผู้เชี่ยวชาญด้านเว็บไซต์แล้วนำไปออนไลน์ บนเว็บไซต์ http://www.safetyhealthed2016.com/ ซึ่งผวูิ้จัยจัดทำขึ้นแล้วให้ครูผู้สอน ทดองใช้ เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบคลังความรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ItemObjective Congruence (IOC) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)ผลการศึกษาพบว่า1. รูปแบบคลังความรู้ที่เหมาะสมกับประเทศไทย ที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–3 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ควรมีองค์ประกอบดังนี้ 1) ด้านเนื้อหาในเมนูหลัก ประกอบด้วย มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล สื่อการเรียนรู้ และแหล่งการเรียนรู้ 2) ด้านเนื้อหาในเมนูเสริม ประกอบด้วย คำศัพท์สุขศึกษา เว็บไซต์ที่น่าสนใจ และกระดานสนทนา 3) ด้านการใช้งาน ผู้วิจัยเลือกเว็บที่มีโครงสร้างแบบลำดับขั้น โดยสามารถเชื่อมโยงไปศึกษาในเนื้อหาได้ ผู้ใช้จะสามารถเห็นถึงรายละเอียดในเนื้อหา โดยผู้ใช้สามารถเลือกเข้าศึกษาเนื้อหาตามระดับชั้นที่ต้องการ เมื่อเลือกเนื้อหาของระดับชั้นที่ต้องการได้แล้ว ผู้ใช้จะสามารถเลือกดูรายละเอียดหัวข้อต่าง ๆ จากเมนูด้านซ้ายมือ เมื่อสิ้นสุดเนื้อหา ผู้ใช้สามารถกลับไปที่หน้าหลักหรือเลือกศึกษาเนื้อหาของระดับชั้นโดยเลือกได้จากเมนูด้านบนของเว็บไซต์ได้เลย ในกรณีที่พบปัญหาหรือข้อสงสัย สามารถที่จะติดต่อสื่อสารกับผู้ดูแลเว็บไซต์ได้จากเมนูติดต่อเรา2. ความเหมาะของรูปแบบคลังความรู้ที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 3 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ความเหมาะสมของรูปแบบคลังความรู้ที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการพบว่ามีคุณภาพระดับมาก ประกอบด้วย ด้านเนื้อหาสาระในเมนูหลัก มีค่าเฉลี่ย 3.63 ด้านเนื้อหาสาระในเมนูเสริมมีค่าเฉลี่ย 3.61 และด้านการใช้งาน มีค่าเฉลี่ย 3.69 ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากThe purposes of this study were to develop an appropriate knowledge resource model inaliment with learning standards-based curriculum and to test an appropriateness of knowledge resource model in aliment with learning standards-based curriculum of health and physicaleducation learning area in the fifth strand, safety in everyday life for lower secondary educationlevel from seventh to ninth grades of the basic education curriculum, B.E. 2551. The research wasdivided into three phases, which followed the aims of this research. The data were analyzed byusing Item Objective Congruence (IOC), mean and standard deviation. The results were as followed:1. The appropriate knowledge resource model for Thailand in aliment with learningstandards-based curriculum of health and physical education learning area in the fifth strand,safety in everyday life for lower secondary education level from seventh to ninth grades of thebasic education curriculum, B.E. 2551, contained the following elements : 1) The content on themain menu consisted of learning standard, indicators, content, unit plan, lesson plan, learningactivities, assessment procedures, learning materials and learning resources. 2) The content on thesupplementary menu included health education terminology, interesting websites and web boards.3) The web using, the researchers selected a Hierarchical Structure by clicking the link to studythe content from the buttons to the website. Then the user can see the main site content. Theuser can access to study the content according to level the desire. When choosing the content ofthe desired level, use can choose to view details on various topics from the menu on the left. Atthe end, user can choose to go back to homepage or select to study in each part of the class bychoosing from the menu at the top of the website. In the case of problems or concerns, studentscan communicate with the site administrator from the menu in the contact us section.2. The appropriateness of knowledge resource model in aliment with learning standardsbasedcurriculum of health and physical education learning area in the fifth strand, safety ineveryday life for lower secondary education level from seventh to ninth grades of the basiceducation curriculum, B.E. 2551 indicated a high quality including, contents on the main menuwith an average of 3.63, contents on the supplementary menu with an average of 3.61, and webusing with an average of 3.69. The overall evaluation result was at a high level.Downloads
Issue
Section
Articles