การประเมินผลและติดตามผลหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

Authors

  • รุจิรา คงนุ้ย
  • เอกชัย เนาวนิช

Keywords:

การประเมินผล, ติดตามผลหลักสูตร, หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

Abstract

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการจัดการศึกษาและติดตามผลหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ควบคู่กับเกณฑ์การประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557 ประเมินเกี่ยวกับด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ประชากรที่ศึกษา คือ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามด้านการจัดการศึกษาของหลักสูตร มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างรายการคำถามกับวัตถุประสงค์การประเมินหลักสูตร เท่ากับ 0.91 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก          ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (µ = 3.60 σ = .37) จำแนกรายด้านด้านบริบท มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (µ = 3.70 σ = .45) ด้านปัจจัยนำเข้า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (µ = 3.50 σ = .70) ด้านกระบวนการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (µ = 3.66 σ = .38) และด้านผลผลิต มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (µ = 3.69 σ = .41)          The aim of this research was to evaluate and follow-up of Bachelor of Science in Computer Science Program, Faculty of Science and Technology, Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi for quality assurance under Thai Qualifications Framework for higher education in 4 aspects such as the contexts, the input, the processes and the products of curriculum. The population were 30 graduate students from the Bachelor of Science in Computer Science Program, Faculty of Science and Technology in 2015. The instrument used to cllect data was the educational management questionnaire. The index of item objective congruence (IOC) and the reliability were equal to 0.91 and 0.93, respectively. The statistic used for data analysis were percentage, mean, standard deviation and weighted mean.          The overall was appropriate at high level (µ = 3.60 σ = .37). The context results was appropriate at high level (µ = 3.70 σ = .45). The input was appropriate at high level (µ = 3.50 σ = .70). The process of curriculum was appropriate in high level (µ = 3.66 σ = .38) and the product of curriculum was appropriate at a high level (µ = 3.69 σ =  .41).

Downloads