ทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเดินเรื่อง

Authors

  • ชนิสรา ใจชัยภูมิ
  • ปิยะพร ทองสิงห์

Keywords:

การจัดประสบการณ์, การเรียนรู้, ทักษะการคิด, เด็กปฐมวัย

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเดินเรื่องที่มีผลต่อทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย และ 2) กำหนดรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัยโรงเรียนอุทุมพรพิสัย อายุ 4-5 ขวบ จำนวน 4 ห้องเรียนรวม 98 คน และเลือกแบบเจาะจงเพื่อเป็นกลุ่มเป้าหมาย 1 ห้องเรียน จำนวน 24 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเดินเรื่อง และแบบทดสอบวัดทักษะการคิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายด้วยค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยมีทักษะการคิดหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และสามารถกำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เป็น PAR จากสัญลักษณ์ที่กำหนด สามารถอธิบายได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 P (Preparation) หมายถึง การเตรียมการดำเนินการจัดประสบการณ์ โดยการสร้างร่วมมือ (Participations) ระหว่างครู - ผู้ปกครอง โดยการระดมความคิดเห็นและจดบันทึก และการวางแผน (Plan) เพื่อสรุปข้อมูลและวางแผนการดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ระยะที่ 2 A (Activity Based Learning) หมายถึง การเรียนรู้บนพื้นฐานการปฏิบัติ เพื่อสืบค้นข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย ทั้งแบบรายบุคคล (Single Action) และแบบกลุ่ม (Group Action) ระยะที่ 3 R (Reflective Thinking) หมายถึง การสะท้อนความคิด ครูและเด็กร่วมกันนำข้อมูลมาร่วมกันวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อสรุปองค์ความรู้ (Knowledge) โดยใช้เหตุผลทบทวนเหตุการณ์ที่จากกิจกรรม และจัดเรียงข้อมูลและผลงาน (Portfolio) ที่แสดงถึงประสบการณ์การเรียนรู้ โดยนำเสนอ (Presentation)          The objectives of this research were to 1) implement management learning experience for children and 2) to study the impaction using stories telling relevant to the children’s thinking processes. The sample composed of early childhood 4-5 year old by purposive sampling. The instrument were story telling approach and pretest - posttest based and Thinking skills. The data was analyzed by mean and standard deviation. The research were 1) Thinking skill of early childhood after implementing story telling approach higher than before significant at .01. 2) The model learning process composed 3 steps as Step 1 P (Preparation): 1) Participations and collaborations among teachers-parents on brain storming and recording information and 2) Planning: The process in which teachers complied and assimilated all the information regarding their work with children, operational learning experience. Step 2 A (Action based learning) can be defined as learning through information searching using various methods such as single action, group action in which objectives and assessment were determined by teachers. Step 3 R (Reflective thinking) means reflections of ideas in which information on knowledge sharing between teachers and children was analyzed to base on activities engaged. In addition, learning experience was incorporated into portfolios and 3 P (Presentation) was done

Downloads