การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินด้านการปฏิบัติตนของครูผู้ช่วยระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลพบุรี

Authors

  • นภภัทร พูลเพิ่ม
  • ปรีชา วิหคโต

Keywords:

ระบบสารสนเทศ, การประเมิน, ด้านการปฏิบัติตน, ครูผู้ช่วย

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินด้านการปฏิบัติตนของครู  ผู้ช่วยระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลพบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การกำหนดกรอบ  แนวคิดในการวิจัย โดยการศึกษาจากเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นที่ 2 การออกแบบและสร้างระบบสารสนเทศโดยใช้เทคนิคการจัดกลุ่มสนทนา (Focus group discussion) ขั้นที่ 3 การทดลองใช้ระบบ  สารสนเทศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลพบุรี ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 3 โรงเรียน ตามขนาดของโรงเรียน คือ โรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลาง และ  โรงเรียนขนาดใหญ่ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้รับผิดชอบในการประเมินผลการปฏิบัติตน และครูผู้ช่วย โรงเรียนละ 4 คน รวมทั้งสิ้น 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ  รวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่าระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินด้านการปฏิบัติตนของครูผู้ช่วย ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลพบุรี ประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการออกแบบ2) ด้านกระบวนการทำงาน และ 3) ด้านผลลัพธ์หรือการรายงานผลการประเมินซึ่งมีประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย = 4.45) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการออกแบบ มีประสิทธิภาพอยู่ใน ระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.52) และมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี 2 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านผลลัพธ์หรือการรายงานผลการประเมิน (ค่าเฉลี่ย = 4.45) และด้านกระบวนการทำงาน (ค่าเฉลี่ย = 4.38) ตามลำดับ          The purposes of this study were to develop an information system for evaluation conduct of assistant teachers under Lopburi Provincial Education Office. This study is a type of research and development. The research procedure consisted of 3 stages as follows stage 1: determining conceptual framework of the research by study documents, textbooks, academic articles and research, stage 2: designing and constructing the information system by focus group discussion technique, and stage 3: trial the information system. The sample used secondary school under Lopburi Provincial Education Office selected by using purposive sampling, totaling 3 schools by size, schools include small schools, medium schools and large schools include school administrators, basic school commission, personnel in charge of evaluation the performance and secondary school assistant teachers 4 people per school totaling 12 people. The instrument used was an information system performance    evaluation questionnaire. The statistics used in data analyzing were mean and standard deviation.          The study found as follow the information system for evaluation conduct of assistant teachers under Lopburi Provincial Education consisted of 3 components, namely component 1: design; component 2: work process; and component 3: outcomes or report of evaluation. The effectiveness of the information system as a whole was at good level (average = 4.45). Considering it by aspect were found at very good level ‘design’ (average = 4.52), and 2 aspect were found at good level as arranged in descending order, namely ‘outcomes or report of evaluation’ (average = 4.45), and ‘work process’s (average = 4.38)   respectively.

Downloads